ปวดหลัง หมอนรองกระดูกอักเสบ office syndrome ดีขึ้นได้ด้วยการนวดปรับสมดุล

ปวดหลัง ปวดคอ รู้สึกตึงที่บ่าและไหล่ หนึ่งในอาการยอดฮิตของภาวะออฟฟิศซินโดรมที่พบได้บ่อยในวัยทำงาน ซึ่งหลายคนอาจมองว่าเป็นแค่อาการเหนื่อยล้าสะสมแต่หากปล่อยไว้โดยไม่ดูแลอย่างถูกวิธี อาจลุกลามจนถึงขั้นหมอนรองกระดูกอักเสบหรือกระดูกสันหลังเคลื่อนกดทับเส้นประสาทโดยไม่รู้ตัว ปัจจุบันมีหลายแนวทางในการฟื้นฟูอาการ Office Syndrome ทั้งการใช้ยา กายภาพบำบัด รวมถึงการนวดปรับสมดุลโครงสร้างร่างกาย (Holistic Massage) ซึ่งเป็นแนวทางฟื้นฟูสุขภาพด้วยการนวดปรับสมดุลจากภายใน ช่วยจัดกระดูก กล้ามเนื้อ และเส้นเอ็นให้อยู่ในตำแหน่งที่เหมาะสม ส่งเสริมให้โครงสร้างร่างกายกลับเข้าสู่สภาวะสมดุลโดยไม่ต้องผ่าตัด และลดการพึ่งพายาที่ไม่จำเป็น ช่วยปรับปรุงคุณภาพชีวิตของผู้เข้ารับบริการให้ดีขึ้นได้อย่างเห็นผลและมีความปลอดภัย

Table of Contents

สาเหตุที่ทำให้เกิดอาการปวดต่างๆ ตามร่างกาย ภาวะ Office Syndrome

ภาวะ Office Syndrome เป็นกลุ่มอาการปวดกล้ามเนื้อ เนื้อเยื่อพังผืดและกระดูกสันหลัง ซึ่งเกิดจากการนั่งทำงานในท่าทางที่ไม่เหมาะสมต่อเนื่องหลายสัปดาห์หรือหลายปี ส่งผลให้กล้ามเนื้อบริเวณคอ บ่า ไหล่ หลัง แขน และขา เกิดอาการปวด ตึง ร่วมกับอาการชาบริเวณต่างๆ พบได้บ่อยในกลุ่มพนักงานออฟฟิศหรือผู้ที่ทำงานในท่าเดิมเป็นเวลานาน โดยมีสาเหตุหลักที่พบได้บ่อย ดังนี้

  • ท่านั่งไม่เหมาะสม เช่น นั่งหลังค่อม ยกไหล่ หรือไขว้ขา ส่งผลให้กล้ามเนื้อคอ หลัง และหลังล่างรับภาระมากขึ้น จนเกิดอาการตึง ปวดและเสี่ยงต่อการอักเสบของหมอนรองกระดูกได้ในระยะยาว
  • ขาดการเปลี่ยนอิริยาบถ การนั่งต่อเนื่องนานเกินไปโดยไม่ขยับร่างกาย ทำให้กล้ามเนื้อถูกใช้งานซ้ำๆ ระบบไหลเวียนเลือดช้าลง และอาจกดทับเส้นประสาทจนเกิดอาการชา ปวด ร้าวได้
  • โต๊ะ เก้าอี้ ไม่รองรับสรีระผู้ใช้งาน เช่น โต๊ะสูงเกินไป เก้าอี้ไม่มีพนักพิง หรือจอคอมพิวเตอร์ไม่อยู่ในระดับสายตา อาจส่งผลให้กล้ามเนื้อเกร็งผิดธรรมชาติและทำให้เกิดอาการปวดเมื่อยเรื้อรัง
  • ความเครียดสะสมจากการทำงานหนัก พักผ่อนน้อย อาจทำให้กล้ามเนื้อหดเกร็งโดยไม่รู้ตัว ส่งผลให้เกิดอาการปวดเมื่อยและรู้สึกอ่อนล้า โดยเฉพาะบริเวณคอ บ่า ไหล่ และหลัง

ผลกระทบจากภาวะ Office Syndrome อาการปวดหลัง หมอนรองกระดูกอักเสบ

แม้อาการปวดเมื่อยจาก Office Syndrome ในระยะแรกอาจดูไม่รุนแรง แต่หากละเลยหรือไม่ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการทำงานให้เหมาะสม อาจทำให้ปัญหาลุกลามและกลายเป็นภาวะเรื้อรังเหล่านี้

  • ปวดหลังเรื้อรัง ปวดร้าวลงแขนหรือขาหากมีภาวะหมอนรองกระดูกกดทับเส้นประสาทร่วมด้วย ส่งผลกระทบต่อการใช้ชีวิตประจำวัน ทำให้ลุก นั่ง หรือเดินได้ยากลำบาก
  • ปวดตึงสะบัก สะบักจม ไหล่ติด
  • มีอาการชาบริเวณนิ้วมือ นิ้วล็อกเรื้อรัง หรืออาจมีอาการอ่อนแรงร่วมด้วย
  • ปวดศีรษะเรื้อรังและอาการไมเกรน จากความตึงของกล้ามเนื้อคอ บ่า ไหล่
  • เกิดภาวะกระดูกสันหลังเคลื่อนหรือแนวโครงสร้างร่างกายผิดรูป เช่น ไหล่เอียง สะโพกเบี้ยว ซึ่งส่งผลต่อสุขภาพโดยรวมและอาจเพิ่มความเสี่ยงต่อการบาดเจ็บซ้ำในอนาคต
  • ระบบต่างๆ ในร่างกายทำงานผิดปกติ เช่น ระบบประสาทอัตโนมัติ ระบบไหลเวียนโลหิต ความดัน ระบบย่อยอาหาร ระบบกล้ามเนื้อและกระดูก
  • นอนหลับไม่สนิท หลับๆ ตื่นๆ ตลอดคืน เนื่องจากมีอาการปวดเมื่อยหรือชาระหว่างนอนหลับ
  • อารมณ์แปรปรวน สมาธิสั้น ประสิทธิภาพในการทำงานลดลง

การนวดปรับสมดุล (Holistic Massage) คืออะไร ต่างจากการนวดทั่วไปอย่างไร?

การนวดปรับสมดุลโครงสร้างร่างกาย (Holistic Massage) คือศาสตร์การบำบัดที่ต่อยอดมาจากการนวดแผนไทยรูปแบบดั้งเดิม ซึ่งได้รับการรับรองจากกรมการแพทย์แผนไทยรวมและการแพทย์ทางเลือกในปัจจุบัน การนวดศาสตร์นี้มุ่งเน้นไปที่การสัมผัสให้ถึงลักษณะของอาการของผู้ป่วยผ่านการใช้ตา หู และมือของผู้นวด เพื่อตรวจดูอุณหภูมิร่างกาย การทำงานของระบบไหลเวียนโลหิต ระบบกล้ามเนื้อ ระบบกระดูกต่างๆ รวมถึงสรีระพื้นฐานของร่างกายว่าอยู่ในสภาวะปกติหรือไม่ จากนั้นจึงเริ่มขั้นตอนการนวดด้วยการใช้ นิ้ว มือ เท้า เข่า และศอก นวดให้ร่างกายไม่เกิดการบีบ เบียด กดหรือทับ โดยมีการวางแผนปรับสมดุลไปตามลำดับชั้นของร่างกาย ได้แก่ ชั้นผิวหนัง กล้ามเนื้อ เส้นเอ็นและกระดูก เพื่อทำให้โครงสร้างร่างกายกลับไปอยู่ในสภาพปกติและสามารถฟื้นตัวได้เองตามธรรมชาติ ช่วยบรรเทาและป้องกันอาการเจ็บป่วยต่างๆ เช่น ปวดหลัง ปวดไหล่ ปวดสะบัก ปวดเข่า ออฟฟิศซินโดรม หรืออาการผิดปกติจากการใช้ร่างกายซ้ำๆ เป็นเวลานาน ได้อย่างมีประสิทธิภาพโดยไม่ต้องผ่าตัด และลดการพึ่งพาการใช้ยาที่ไม่จำเป็น

การนวดปรับสมดุลโครงสร้างร่างกาย ช่วยอะไรได้บ้าง?

  • บรรเทาอาการปวดกล้ามเนื้อเรื้อรัง เช่น ปวดตึงคอ บ่า ไหล่ หลัง และสะบัก
  • ปรับสมดุลกระดูกและข้อ รวมถึงช่วยลดและปรับอาการกระดูกทับเส้นประสาท ป้องกันอาการไหล่เอียง หลังค่อม ขาโก่ง ขางอ แขนงอ
  • กระตุ้นระบบไหลเวียนเลือดและน้ำเหลืองให้ทำงานได้ดีขึ้น
  • ฟื้นฟูการทำงานของระบบประสาท ลดอาการชาหรือกล้ามเนื้ออ่อนแรง
  • ป้องกันไมเกรน และอาการปวดหัวข้างเดียวที่เกิดจากความตึงของกล้ามเนื้อ
  • บรรเทาอาการตึงเกร็งของกล้ามเนื้อ เช่น ตะคริว กล้ามเนื้อล็อก นิ้วล็อก
  • ปรับความดันโลหิตให้อยู่ในเกณฑ์สมดุล ลดความเสี่ยงโรคหัวใจตีบ หัวใจโต
  • ช่วยเสริมบุคลิกภาพด้วยการจัดโครงสร้างร่างกายให้กลับสู่แนวสมดุลมากขึ้น

การนวดปรับสมดุลโครงสร้างร่างกาย เหมาะกับใคร?

การนวดปรับสมดุลโครงสร้างร่างกายใช้เวลาครั้งละประมาณ 45–60 นาที โดยสามารถทำได้ทุก 1-2 สัปดาห์ หรือตามคำแนะนำของผู้เชี่ยวชาญ เหมาะสำหรับผู้ที่ต้องการฟื้นฟูสุขภาพหรือบรรเทาอาการต่างๆ ดังนี้

  • ผู้ที่มีอาการ Office Syndrome ปวดคอ บ่า ไหล่ หลัง หรือสะบักจม จากการนั่งนานหรือใช้งานกล้ามเนื้อซ้ำๆ
  • ผู้ที่มีอาการปวดเรื้อรังจากหมอนรองกระดูกอักเสบ หรือกระดูกสันหลังเคลื่อน
  • ผู้ที่มีอาการเกร็งของกล้ามเนื้อ เช่น เป็นตะคริวบ่อย
  • ผู้ที่มีปัญหาไหล่เอียง สะโพกเอียง หรือเดินแล้วมีความรู้สึกไม่สมดุล
  • ผู้ที่ต้องการฟื้นฟูโครงสร้างร่างกายให้กลับมาได้สมดุล ส่งเสริมการทำงานของระบบเลือดและน้ำเหลือง รวมถึงความดันโลหิตให้กลับมาอยู่ในระดับปกติ
  • ผู้ที่ต้องการปรับบุคลิกภาพให้ดีขึ้น ป้องกันอาการไหล่เอียง หลังค่อม
  • ผู้ที่อยู่ในกลุ่มเสี่ยงหรือผู้ที่ต้องการดูแลสุขภาพร่างกาย เพื่อป้องกันอาการไมเกรน ภาวะอัมพฤกษ์-อัมพาต ของร่างกายและใบหน้า โรคเท้าชา มือชา นิ้วล็อก อาการปวดเข่า และโรคหัวใจ

ข้อควรระวังเกี่ยวกับการนวดปรับสมดุลโครงสร้างร่างกาย

แม้การนวดปรับสมดุลจะมีประโยชน์ด้านการบำบัดและฟื้นฟู แต่ก็มีข้อควรระวังในบางกลุ่มบุคคล ดังนี้

  • ห้ามนวดในผู้ที่มีไข้ขึ้นสูง หรืออยู่ในช่วงมีประจำเดือน
  • ห้ามนวดหากมีอาการระบม กล้ามเนื้อและผิวหนังเกิดการอักเสบ หรือช่วงหลังการบาดเจ็บใหม่ๆ
  • ผู้มีโรคกระดูกพรุนขั้นรุนแรงหรือเคยผ่าตัดใส่เหล็กที่กระดูก ผู้ป่วยโรคผิวหนัง และโรคติดต่อบางกลุ่ม ควรหลีกเลี่ยงการนวดปรับสมดุลร่างกาย
  • ผู้เข้ารับบริการควรได้รับการตรวจเช็กร่างกายโดยผู้เชี่ยวชาญทุกครั้งก่อนเริ่มขั้นตอนการนวด

ทั้งนี้ เพื่อความปลอดภัยควรนวดปรับสมดุลกับคลินิกที่ได้มาตรฐาน ผู้นวดต้องมีประสบการณ์และผ่านการอบรมเฉพาะทาง มีความรู้ด้านกายวิภาค กล้ามเนื้อ กระดูก และเส้นประสาทอย่างถูกต้อง เพื่อหลีกเลี่ยงผลข้างเคียงจากการนวดผิดจุด ผิดท่า หรือการใช้แรงนวดไม่เหมาะสม ที่ LINNA Clinic พร้อมดูแลผู้เข้ารับบริการโดย ผู้เชี่ยวชาญด้านการบำบัดอาการปวดเรื้อรัง เช่น ปวดหลัง ปวดเข่า ออฟฟิศซินโดรม ด้วยการนวดปรับสมดุลโครงสร้างร่างกายและการกดจุดคลายพังผืด (ผ่าตัดเทียม) ผ่านการอบรมหลักสูตรความรู้เกี่ยวกับการประกอบโรคศิลปะ วิชาชีพการแพทย์แผนไทย ประเภทการนวดมากถึง 800 ชั่วโมง และมีประสบการณ์ดูแลผู้ป่วยมายาวนานกว่า 15 ปี มุ่งเน้นการฟื้นฟูสุขภาพแบบเฉพาะรายบุคคล เพื่อส่งเสริมคุณภาพชีวิตของผู้เข้ารับบริการให้ดีขึ้นได้โดยไม่ต้องผ่าตัด และลดการใช้ยาที่ไม่จำเป็น   

สรุป

อาการปวดเมื่อยจาก Office Syndrome ไม่ใช่แค่ความเหนื่อยล้าชั่วคราว แต่ยังสะท้อนถึงความไม่สมดุลของโครงสร้างร่างกายและระบบภายในที่ควรได้รับการดูแลอย่างจริงจัง การนวดปรับสมดุลโครงสร้างร่างกาย (Holistic Massage) จึงเป็นอีกหนึ่งทางเลือกสำหรับผู้ที่ต้องการฟื้นฟูสมดุลของร่างกายให้ดีขึ้น และสามารถกลับมาใช้ชีวิตประจำวันอย่างคล่องตัวได้โดยไม่ต้องผ่าตัด

หากคุณกำลังเผชิญอาการ Office Syndrome ปวดเมื่อยเรื้อรัง ปวดหลัง หรือมีภาวะหมอนรองกระดูกอักเสบและต้องการฟื้นฟูร่างกายอย่างตรงจุด ปลอดภัย โดยผู้เชี่ยวชาญด้านการนวดปรับสมดุลโครงสร้างร่างกายที่มีประสบการณ์ดูแลผู้ป่วยมานานกว่า 15 ปี และผ่านการอบรมหลักสูตรประกอบโรคศิลปะ สาขาการนวดไทยกว่า 800 ชั่วโมง สามารถติดต่อเข้ามาที่ LINNA Clinic เพื่อสอบถามข้อมูล หรือนัดหมายล่วงหน้าทาง LINE @linnaclinic หรือโทร 063-609-8888 ได้เลยค่ะ

Related Articles

Cannabis Oil and Its Health Benefits You Should Know

Cannabis was originally classified as a narcotic. However, after the Royal Gazette published the Ministry of Public Health’s announcement to exempt cannabis and hemp from being classified as Category 5 narcotics, the use of cannabis for medical purposes became legal.It is also now possible to grow cannabis at home and for commercial purposes by registering

What Is Spike Protein and Why Should You Get Tested?

Since the global outbreak of COVID-19 in late 2019, the term “Spike Protein” has become central to modern medical and biological research — featured in thousands of peer-reviewed studies. It plays a critical role in both the infection mechanism of SARS-CoV-2 and the foundation of next-generation vaccine technologies. The spike protein functions as a biological

Scroll to Top