ภาวะดื้ออินซูลิน คืออะไร? ทำให้เกิดโรคอะไรได้บ้าง มีความเสี่ยงอย่างไร และแก้ไขได้อย่างไร?
เคยไหม? หิวบ่อย รู้สึกอยากของหวาน ทั้งที่เพิ่งรับประทานอาหารไปได้ไม่นาน น้ำหนักตัวขึ้นง่ายแต่ลดยาก หรือผิวพรรณเริ่มเปลี่ยนไปโดยไม่ทราบสาเหตุ อาการเหล่านี้อาจเป็นสัญญาณขั้นต้นของ ภาวะดื้ออินซูลิน (Insulin Resistance) ปัญหาสุขภาพที่เพิ่มความเสี่ยงของการเกิดโรคเบาหวานประเภท 2 และปัญหาสุขภาพอื่นๆ ได้อีกมากมาย มีคนจำนวนไม่น้อยที่เผชิญกับภาวะดื้ออินซูลินโดยไม่รู้ตัว เนื่องจากในระยะแรกอาการมักไม่แสดงชัดเจน กว่าจะสังเกตเห็นความผิดปกติ ก็อาจเข้าสู่ระยะที่รุนแรงและจัดการได้ยาก บทความนี้จาก LINNA CLINIC (ลินนา คลินิก) ชวนทำความเข้าใจเกี่ยวกับภาวะดื้ออินซูลิน ตั้งแต่สาเหตุ อาการ ผลกระทบต่อร่างกาย และแนวทางรักษาฟื้นฟูภาวะดื้ออินซูลินให้ดีขึ้นเพื่อคุณภาพชีวิตที่ดียิ่งกว่า ภาวะดื้ออินซูลิน คืออะไร? ภาวะดื้ออินซูลิน (Insulin Resistance) คือ ภาวะที่เซลล์ในร่างกาย เช่น เซลล์กล้ามเนื้อ เซลล์ไขมัน และเซลล์ตับ ตอบสนองต่ออินซูลินได้น้อยลง ส่งผลให้ร่างกายต้องผลิตอินซูลินมากขึ้นเพื่อควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดให้คงที่ เมื่อภาวะนี้ดำเนินต่อเนื่องเป็นเวลานาน ตับอ่อนจะเริ่มทำงานหนักจนเสื่อมสภาพและผลิตอินซูลินได้น้อยลง ระดับน้ำตาลในเลือดจึงเพิ่มสูงขึ้นอย่างต่อเนื่องนำไปสู่การเกิดโรคเบาหวานประเภท 2 และโรคเรื้อรังอื่นๆ ในอนาคต สาเหตุของภาวะดื้ออินซูลิน ภาวะดื้ออินซูลินอาจเกิดขึ้นได้จากหลายสาเหตุ ทั้งจากภายในร่างกายที่ควบคุมได้ยาก และจากปัจจัยภายนอกที่สามารถปรับเปลี่ยนพฤติกรรมเพื่อช่วยลดความเสี่ยงได้ โดยมีสาเหตุสำคัญที่ทำให้เกิดภาวะดื้ออินซูลิน ดังนี้ พันธุกรรม หากมีประวัติครอบครัวเป็นโรคเบาหวานชนิดที่