รู้สึกเหนื่อยล้า ไม่มีเรี่ยวแรง สมองไม่ปลอดโปร่ง สาเหตุของอาการเหล่านี้อาจไม่ใช่แค่เพียงความเครียดหรือการพักผ่อนไม่เพียงพอ แต่ยังสัมพันธ์กับระดับ NAD+ ในร่างกายที่ลดลงไปตามวัย ส่งผลให้ระบบต่างๆ ทำงานได้ไม่เต็มประสิทธิภาพ ร่างกายจึงรู้สึกอ่อนล้าได้ง่ายขึ้น อย่างไรก็ตามด้วยความก้าวหน้าของนวัตกรรมเพื่อการส่งเสริมสุขภาพเราจึงสามารถเพิ่ม NAD+ ใหม่ๆ ให้ร่างกายได้หลายรูปแบบ ทั้งจากอาหาร อาหารเสริม และเทคนิคการแพทย์อย่างการทำ NAD+ Therapy โดยแพทย์ผู้ชำนาญการ เพื่อช่วยฟื้นฟูพลังงานระดับเซลล์ได้อย่างตรงจุด NAD+ คืออะไร? ดีจริงไหม? และเราจะเพิ่มระดับ NAD+ ในร่างกายได้อย่างไรบ้าง LINNA Clinic (ลินนา คลินิก) มีคำตอบ
Table of Contents
NAD+ คืออะไร? สำคัญอย่างไร?
NAD+ หรือ Nicotinamide Adenine Dinucleotide คือ โคเอนไซม์ที่จัดอยู่ในกลุ่มอนุพันธ์ของวิตามินบี 3 ซึ่งมีบทบาทหลักในกระบวนการผลิตพลังงาน (ATP) ของเซลล์ ช่วยซ่อมแซม DNA ที่เสียหายให้กลับสู่สภาวะปกติ อีกทั้งยังมีส่วนช่วยกระตุ้นการทำงานของเอนไซม์กลุ่ม Sirtuins ซึ่งเกี่ยวข้องกับการชะลอวัยและเสริมสร้างสุขภาพโดยรวม
แม้ว่าร่างกายสามารถผลิต NAD+ ได้เองอยู่แล้วตามธรรมชาติ แต่เมื่ออายุมากขึ้นประกอบกับปัจจัยกระตุ้นต่างๆ ที่ต้องพบเจอในชีวิตประจำวัน ล้วนส่งผลให้ระดับ NAD+ ลดลงอย่างต่อเนื่องทำให้เซลล์เข้าสู่สภาวะเสื่อมถอย ผิวพรรณดูเหี่ยวย่น ระบบเผาผลาญเริ่มทำงานช้าลง และอาจเพิ่มความเสี่ยงต่อการเกิดโรคเรื้อรัง เช่น โรคเบาหวาน โรคหัวใจและหลอดเลือด โรคอ้วน และโรคอัลไซเมอร์ การเพิ่ม NAD+ ให้กับร่างกายด้วยวิธีที่เหมาะสม จึงมีบทบาทสำคัญในการฟื้นฟูพลังงานระดับเซลล์ และช่วยส่งเสริมสุขภาพให้ดีขึ้นแบบองค์รวม
กระบวนการสร้าง NAD+ ในร่างกาย จากสารตั้งต้น NMN, NAM, NR
ร่างกายของเราสามารถผลิต NAD+ ได้เองจากสารตั้งต้นสำคัญชนิดต่างๆ โดยมีกระบวนการผลิตหลักๆ 2 รูปแบบ ได้แก่ De Novo Pathway ซึ่งเป็นการสร้าง NAD+ จากกรดอะมิโน Tryptophan และ Salvage Pathway ด้วยการรีไซเคิลสารตั้งต้น เช่น NMN, NAM และ NR ซึ่งร่างกายสามารถผลิตขึ้นเองได้ และสามารถรับเพิ่มจากอาหารหรือผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร เพื่อช่วยรักษาระดับ NAD+ ในร่างกายให้คงที่ ดังนี้
- NMN (Nicotinamide Mononucleotide) เป็นสารตั้งต้นโดยตรงของ NAD+ ที่มีประสิทธิภาพสูงเนื่องจากเป็นโมเลกุลที่ใกล้เคียงกับ NAD+ มากที่สุด โดยสาร NMN ที่อยู่ภายในเซลล์จะถูกแปลงเป็น NAD+ ได้โดยตรงด้วยเอนไซม์ NMNAT (Nicotinamide Mononucleotide Adenylyl Transferase) จึงนับเป็นกระบวนการในการเพิ่มระดับ NAD+ ได้อย่างรวดเร็ว
- NAM (Nicotinamide หรือ Niacinamide) เป็นอีกหนึ่งรูปแบบของวิตามิน B3 ที่ร่างกายสามารถใช้สร้าง NAD+ ได้ โดย NAM จะถูกเปลี่ยนเป็น NMN ผ่านเอนไซม์ NAMPT (Nicotinamide Phosphoribosyl Transferase) ก่อนที่ NMN จะถูกแปรสภาพเป็น NAD+ ในภายหลังโดยเอนไซม์ NMNAT เนื่องจากต้องผ่านกระบวนการหลายขั้นตอน จึงอาจใช้เวลานานกว่าการใช้ NMN หรือ NR โดยตรง
- NR (Nicotinamide Riboside) NR เป็นอีกหนึ่งรูปแบบของวิตามิน B3 ที่เป็นสารตั้งต้นของ NAD+ ที่ร่างกายสามารถดูดซึมได้ดีโดยเฉพาะในระบบประสาทและสมอง ร่างกายจะดูดซึม NR แล้วเปลี่ยนเป็น NMN ผ่านเอนไซม์ NRK (Nicotinamide Riboside Kinase) หลังจากนั้นจึงแปรสภาพเป็น NAD+
ถึงแม้ร่างกายสามารถสังเคราะห์ NAD+ ได้เองผ่านกระบวนการต่างๆ แต่เมื่ออายุเพิ่มขึ้น ประกอบกับความเครียด การนอนหลับพักผ่อนไม่เพียงพอ การใช้ยาหรือสารเคมีบางชนิด รวมถึงการอักเสบภายในร่างกาย ส่งผลให้ร่างกายผลิต NAD+ ได้น้อยลง การได้รับ NAD+ เสริมจากภายนอกจึงเป็นอีกทางเลือกเพื่อช่วยฟื้นฟูร่างกายให้กลับมาทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ
วิธีเพิ่ม NAD+ ในร่างกาย
มีหลายวิธีที่ช่วยเพิ่มระดับ NAD+ ให้กับร่างกาย ซึ่งแต่ละวิธีมีประสิทธิภาพในการเพิ่ม NAD+ ที่แตกต่างกันไป เช่น
- การรับประทานอาหารที่มีวิตามินบี 3 สูง เช่น อะโวคาโด มะเขือเทศ บรอกโคลี มันฝรั่ง ปลาแซลมอน อาหารทะเล ธัญพืชและเมล็ดพืช พืชตระกูลถั่ว ไข่ และผลิตภัณฑ์จากนม
- การออกกำลังกายแบบคาร์ดิโอ (Cardio) และการฝึกเวทเทรนนิ่ง เพื่อช่วยเร่งอัตราการเผาผลาญ และช่วยกระตุ้นการทำงานของเอนไซม์ Sirtuins ส่งผลให้ร่างกายเกิดกระบวนการรีไซเคิลและผลิต NAD+ ได้ดีขึ้น
- การรับประทานอาหารเสริมในกลุ่ม NMN และ NR เพื่อส่งเสริมการสร้าง NAD+ ในร่างกาย
- NAD+ Therapy ช่วยฟื้นฟูระดับ NAD+ อย่างรวดเร็ว เป็นวิธีที่ได้รับความนิยมในคลินิกสุขภาพที่ได้มาตรฐาน โดยแพทย์ผู้ชำนาญการจะดริปสาร NAD+ ผ่านทางหลอดเลือดดำโดยตรง เพื่อให้ร่างกายสามารถนำไปใช้ได้อย่างรวดเร็วโดยไม่ต้องผ่านระบบย่อยและดูดซึมอาหาร แตกต่างจากการรับประทานอาหารและอาหารเสริมทั่วไป
NAD+ คืออะไร? ดีจริงไหม?
NAD+ Therapy หรือ NAD+ IV Drip Therapy เป็นการให้ NAD+ (Nicotinamide Adenine Dinucleotide) ผ่านทางหลอดเลือดดำ (IV Drip) เพื่อช่วยเพิ่มระดับ NAD+ ในร่างกายโดยตรง โดยเฉพาะที่สมองและตับ การทำ NAD+ Therapy ช่วยให้ร่างกายดูดซึม NAD+ ได้รวดเร็วและมีประสิทธิภาพมากกว่าการรับประทานอาหารเสริมหรือการเพิ่มระดับ NAD+ ด้วยวิธีอื่น
ข้อดีของการทำ NAD+
- ช่วยเพิ่มพลังงานและลดอาการเหนื่อยล้า โดยการเพิ่มระดับ ATP ซึ่งเป็นแหล่งพลังงานหลักของเซลล์ในร่างกาย ทำให้รู้สึกสดชื่น กระปรี้กระเปร่า และลดอาการเหนื่อยล้าเรื้อรัง (Chronic Fatigue Syndrome)
- ช่วยฟื้นฟูสมองและความจำ ลดภาวะสมองล้า (Brain Fog) ส่งเสริมการทำงานของสมอง และช่วยลดความเสี่ยงของโรคอัลไซเมอร์หรือพาร์กินสัน
- กระตุ้นการซ่อมแซมเซลล์และชะลอวัย ช่วยกระตุ้นเอนไซม์ Sirtuins ซึ่งเกี่ยวข้องกับการซ่อมแซม DNA และการชะลอวัย การทำ NAD+ จึงมีส่วนช่วยชะลอความแก่ของเซลล์ ส่งเสริมให้ร่างกายแข็งแรง ป่วยยาก ฟื้นตัวได้เร็ว และช่วยชะลอวัยให้เซลล์ผิว ป้องกันการเกิดริ้วรอยก่อนวัยอันควร
- ช่วยกระตุ้นการเผาผลาญและควบคุมน้ำหนัก NAD+ มีบทบาทในการเผาผลาญไขมันและน้ำตาล ทำให้ร่างกายสามารถดึงพลังงานมาใช้ได้อย่างมีประสิทธิภาพ ส่งผลดีต่อการควบคุมน้ำหนัก และช่วยลดความเสี่ยงต่อการเกิดโรคที่เกี่ยวข้องกับระบบเผาผลาญ
- ส่งเสริมระบบภูมิคุ้มกันและลดการอักเสบในร่างกาย ช่วยลดความเสี่ยงของโรคเรื้อรังต่างๆ เช่น โรคเบาหวาน ความดันโลหิตสูง โรคเกี่ยวกับกระดูก โรคหัวใจและหลอดเลือด เป็นต้น
NAD+ เหมาะกับใคร
- ผู้ที่มีอาการเหนื่อยล้าสะสม รู้สึกอ่อนเพลีย ไม่มีเรี่ยวแรงอยู่เป็นประจำ
- ผู้ที่ใช้สมองอย่างหนักติดต่อกันเป็นเวลานาน ที่ต้องการฟื้นฟูสมอง เสริมความจำ และลดภาวะสมองล้า
- ผู้ที่ต้องการชะลอวัย และฟื้นฟูสุขภาพแบบองค์รวมได้จากภายใน
- นักกีฬาหรือผู้ที่ออกกำลังกายหนัก ที่ต้องการเร่งการฟื้นตัวของกล้ามเนื้อและร่างกายให้กลับมาแข็งแรง
- ผู้ที่อยู่ในช่วงฟื้นฟูหลังการใช้สารเสพติดหรือสารเคมีบางชนิดที่ส่งผลเสียต่อร่างกาย
- ผู้ที่ต้องการกระตุ้นการทำงานของระบบเผาผลาญเพื่อช่วยลดน้ำหนัก และลดความเสี่ยงของโรคเรื้อรัง
NAD+ ควรทำกี่ครั้ง
ในระยะแรกที่เริ่มทำ NAD+ แพทย์มักแนะนำทำสัปดาห์ละ 1 ครั้ง ติดต่อกันอย่างน้อย 4-5 สัปดาห์ เพื่อช่วยเพิ่มระดับ NAD+ ในร่างกายให้เพียงพอต่อการฟื้นฟูระบบเซลล์อย่างมีประสิทธิภาพ หลังจากนั้นสามารถลดความถี่ลงเหลือเดือนละ 1 ครั้ง เพื่อรักษาระดับ NAD+ ให้คงที่ ทั้งนี้ปริมาณและความถี่ในการทำ NAD+ ขึ้นอยู่กับสภาพร่างกายของแต่ละบุคคล โดยแพทย์จะเป็นผู้ประเมินร่างกายอย่างละเอียด และวางแผนการฟื้นฟูร่างกายด้วย NAD+ อย่างเหมาะสม
NAD+ อันตรายไหม?
โดยทั่วไปการทำ NAD+ Therapy ไม่มีอันตราย เนื่องจากสาร NAD+ ที่เติมเข้าสู่ร่างกายผ่านทางหลอดเลือดดำเป็นสารชนิดเดียวกันกับโคเอนไซม์ที่ร่างกายผลิตขึ้นได้เองตามธรรมชาติ อย่างไรก็ตามควรทำ NAD+ Therapy ภายใต้การดูแลของแพทย์ชำนาญการ มีการประเมินร่างกายอย่างละเอียดเพื่อประเมินความเสี่ยง รวมถึงการปรับปริมาณ และความถี่ในการทำ NAD+ Therapy ให้เหมาะสมกับความต้องการของร่างกายในแต่ละบุคคล
ผลข้างเคียงหลังทำ NAD+
ในระหว่างและหลังการทำ NAD+ อาจทำให้ผู้เข้ารับบริการบางรายรู้สึกปวดหัว วิงเวียนศีรษะ ใจเต้นเร็ว หรือคลื่นไส้ ซึ่งสามารถแจ้งให้แพทย์ลดอัตราความเร็วในการเติม NAD+ เข้าสู่หลอดเลือดเพื่อให้ร่างกายกลับเข้าสู่สภาวะปกติ และภายหลังจากการทำอาจมีรอยแดง หรือรู้สึกระคายเคืองที่บริเวณรอยเข็ม ซึ่งอาการเหล่านี้จะค่อยๆ ดีขึ้นและหายได้เองในช่วง 2-3 วัน
สรุป
NAD+ เป็นโคเอนไซม์ที่มีความสำคัญต่อร่างกายหลากหลายด้าน ทั้งช่วยผลิตพลังงาน กระตุ้นการทำงานของระบบเผาผลาญ ฟื้นฟูเซลล์และชะลอวัย ตลอดไปจนถึงช่วยส่งเสริมการทำงานของระบบประสาทและสมอง แต่เมื่ออายุมากขึ้นระดับ NAD+ จะเริ่มลดลงส่งผลให้ร่างกายเข้าสู่สภาวะเสื่อมถอย การเติม NAD+ ผ่านทางหลอดเลือดโดยตรงจึงเป็นอีกหนึ่งทางเลือกที่ช่วยให้ร่างกายฟื้นตัวและกลับมาทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ สำหรับใครที่รู้สึกเหนื่อยล้า อยากดูแลสุขภาพให้แข็งแรงหรือต้องการฟื้นฟูร่างกายด้วย NAD+ Therapy สามารถติดต่อเข้ามาที่ LINNA Clinic ทุกสาขา เพื่อปรึกษา หรือนัดจองคิวแพทย์ชำนาญการได้ที่เบอร์ 063-609-8888 หรือทางไลน์ @linnaclinic ได้เลยค่ะ