Long Covid (ลองโควิด) ภาวะความผิดปกติของร่างกายที่อาจเกิดขึ้นได้หลังหายจากการติดเชื้อไวรัส Covid 19 ซึ่งอาจส่งผลกระทบต่อสุขภาพได้ทั้งในระยะสั้นและระยะยาว แม้ว่าปัจจุบันยังไม่มีข้อมูลทางการแพทย์ที่ระบุสาเหตุอย่างชัดเจน แต่พบว่าผู้ที่เคยติดเชื้อโควิดมีโอกาสเผชิญกับภาวะนี้สูงถึง 30-50% โดยอาการและความรุนแรงอาจแตกต่างกันไปในแต่ละบุคคล บางรายมีอาการเพียงไม่กี่สัปดาห์ ในขณะที่บางรายอาจเผชิญปัญหานานหลายเดือน สำหรับใครที่เคยป่วยเป็นโรคโควิด 19 มาก่อนและรู้สึกว่าร่างกายยังฟื้นตัวได้ไม่เต็มที่ หรือสงสัยว่าตนเองอาจกำลังเผชิญกับภาวะ Long Covid อยู่หรือไม่? บทความนี้จาก LINNA Clinic ชวนทำความเข้าใจอาการ Long Covid อย่างละเอียด ตั้งแต่อาการที่พบได้บ่อย ผู้ที่อยู่ในกลุ่มเสี่ยง รวมถึงแนวทางการฟื้นฟูร่างกายจากอาการ Long Covid เพื่อให้สามารถกลับมาใช้ชีวิตได้อย่างปกติและมีความสุขอีกครั้ง
Table of Contents
Long Covid (ลองโควิด) คืออะไร
Long Covid (ลองโควิด) มีชื่อเรียกทางการแพทย์ว่า Post-COVID Syndrome คือ กลุ่มอาการเดิมที่ยังคงหลงเหลืออยู่หรืออาจเป็นอาการใหม่ที่เพิ่งเกิดขึ้นหลังจากผู้ป่วยหายจากโรค Covid 19 ซึ่งโดยส่วนใหญ่มักมีอาการ Long Covid ภายในช่วง 3 เดือนแรกหลังจากการติดเชื้อ ถึงแม้ว่าในปัจจุบันยังไม่มีคำตอบที่แน่ชัดเกี่ยวกับสาเหตุที่ทำให้เกิดภาวะ Long Covid แต่ผลกระทบหลังการติดเชื้อ Covid-19 เหล่านี้อาจเกิดขึ้นจากอวัยวะในร่างกายได้รับความเสียหายจากการติดเชื้อ เช่น หัวใจและหลอดเลือด ปอด ระบบทางเดินอาหาร ระบบประสาท ฯลฯ ภูมิคุ้มกันทำงานผิดปกติ ตลอดไปจนถึงยังมีชิ้นส่วนของไวรัสหลงเหลืออยู่ในร่างกาย
ใครบ้างที่มีความเสี่ยงต่อ Long Covid (ลองโควิด)
อาการ Long Covid สามารถเกิดขึ้นได้กับทุกคนที่เคยติดเชื้อไวรัส Covid 19 มาก่อน แต่อย่างไรก็ตามมีผู้ป่วยบางกลุ่มที่มีความเสี่ยงสูงมากกว่าบุคคลทั่วไป ได้แก่
- ผู้ป่วยที่มีอาการรุนแรงระหว่างการติดเชื้อไวรัส Covid-19 โดยเฉพาะในเคสที่เชื้อลงปอดและมีภาวะปอดอักเสบรุนแรงจนต้องเข้ารับการรักษาในห้อง ICU หรือใช้เครื่องช่วยหายใจ
- ผู้ที่มีโรคประจำตัว เช่น ผู้ป่วยโรคเบาหวาน โรคหัวใจและหลอดเลือด โรคอ้วน โรคปอดเรื้อรัง หอบหืด ทำให้ร่างกายฟื้นตัวได้ช้าและเพิ่มความเสี่ยงต่อการเกิดภาวะ Long Covid
- ผู้สูงอายุ โดยเฉพาะในกลุ่มที่มีอายุ 60 ปีขึ้นไป ที่ร่างกายฟื้นตัวได้ช้ากว่าวัยหนุ่มสาว และมักทำให้เกิดปัญหาเกี่ยวกับสุขภาพได้ในระยะยาว
- เพศ มีงานวิจัยบางชิ้นแสดงข้อมูลให้เห็นว่าผู้ป่วยเพศหญิงมีแนวโน้มที่มีเกิดภาวะ Long Covid มากกว่าเพศชาย โดยเฉพาะอย่างยิ่งอาการที่เกี่ยวข้องกับระบบประสาท
- ผู้ที่ติดเชื้อซ้ำ อาจเพิ่มโอกาสในการเกิด Long Covid โดยเฉพาะอย่างยิ่งหากเคยมีอาการรุนแรงในครั้งก่อน
- ผู้ที่ไม่ได้รับวัคซีนป้องกัน COVID-19
อาการของ Long Covid (ลองโควิด) ที่พบได้บ่อย
อาการ Long Covid ในช่วงฟื้นตัวของผู้ป่วยแต่ละรายอาจแตกต่างกันออกไปซึ่งอาการเหล่านี้อาจเกิดขึ้นคล้ายเดิมหรือเป็นอาการที่เกิดขึ้นใหม่หลังหายจากโรค Covid 19 โดยมีอาการที่พบได้บ่อย ดังนี้
- อ่อนเพลียเรื้อรัง
- สมองล้า (Brain Fog) รู้สึกมึนงง มีปัญหาเกี่ยวกับสมาธิและความทรงจำ
- ปวดกล้ามเนื้อและข้อ
- ปวดศีรษะ วิงเวียน มึนงง
- ใจสั่น หัวใจเต้นเร็วหรือเต้นผิดจังหวะ
- ความดันโลหิตไม่ปกติ วิงเวียนศีรษะ มีอาการหน้ามืดบ่อยๆ
- มีปัญหาเกี่ยวกับการนอนหลับ เช่น นอนไม่หลับ หลับไม่สนิท หรือตื่นกลางดึกบ่อย
- ไอ เจ็บแน่นหน้าอก หรือรู้สึกจุกที่หน้าอก
- หายใจลำบาก หายใจได้ไม่เต็มอิ่ม
- ปวดท้องหรือคลื่นไส้ ในบางรายอาจมีปัญหาอาหารไม่ย่อยร่วมด้วย
- ท้องเสีย ถ่ายเหลว
- มีไข้ต่ำๆ อย่างต่อเนื่อง
- มีผื่นขึ้นตามผิวหนัง
- การรับรสหรือการดมกลิ่นผิดปกติ
- อารมณ์แปรปรวน เช่น วิตกกังวลหรือซึมเศร้า
- ผมร่วง เนื่องจากเซลล์รากผมได้รับความเสียหาย
วิธีดูแลร่างกายเมื่อมีอาการ Long Covid (ลองโควิด)
เมื่อทราบแล้วว่ามีภาวะ Long Covid ผู้ป่วยควรดูแลตัวเองอย่างเหมาะสมเพื่อช่วยบรรเทาอาการและฟื้นฟูสุขภาพ ดังนี้
- พักผ่อนให้เพียงพอ หากรู้สึกอ่อนเพลียหรือหมดแรงควรรีบพักผ่อนทันที และนอนหลับให้ได้อย่างน้อยวันละ 7-8 ชั่วโมง เพื่อช่วยเสริมสร้างและฟื้นฟูร่างกาย
- เลือกรับประทานอาหารที่มีประโยชน์ให้ครบ 5 หมู่ ทานโปรตีนคุณภาพสูงเพื่อช่วยซ่อมแซมร่างกาย เช่น เนื้อสัตว์ไม่ติดมัน เนื้อปลา ไข่ ถั่วหรือนม เสริมด้วยผักใบเขียวและผลไม้ซึ่งเป็นแหล่งของวิตามินจำเป็นในทุกมื้ออาหาร และดื่มน้ำมากๆ
- ออกกำลังกายสม่ำเสมอ ในกลุ่มผู้ป่วยที่มีอาการ Long Covid สามารถออกกำลังกายเบาๆ เพื่อช่วยกระตุ้นระบบภูมิคุ้มกันร่างกาย บรรเทาอาการปวดกล้ามและข้อต่อ รวมถึงช่วยทำให้นอนหลับง่ายขึ้น เช่น การเดินเร็ว การว่ายน้ำ ฝึกเล่นโยคะ พิลาทิส ฯลฯ โดยควรหลีกเลี่ยงการออกกำลังกายที่ต้องใช้แรงเยอะเนื่องจากอาจทำให้อาการแย่ลง
- ฝึกการหายใจ (Breathing exercise) ช่วยบริหารปอด เช่น การหายใจแบบลึก การหายใจด้วยการเป่าปาก การฝึกหายใจด้วยเครื่องช่วย รวมถึงการออกกำลังกายที่ช่วยยืดปอด เพื่อช่วยกระตุ้นการไหลเวียนโลหิต เพื่อเพิ่มความแข็งแรงของปอด กระตุ้นการไหลเวียนโลหิต และช่วยผ่อนคลายความเครียด
- บริหารจัดการความเครียดอย่างเหมาะสม อาการซึมเศร้าหรือวิตกกังวลเป็นภาวะที่พบได้บ่อยในผู้ที่มี Long Covid สามารถบรรเทาได้ด้วยการฝึกผ่อนคลายจิตใจ เช่น การทำสมาธิ การพูดคุยกับคนใกล้ชิด หรือปรึกษาผู้เชี่ยวชาญด้านจิตวิทยาเพื่อรับคำแนะนำที่เหมาะสม
ผู้ป่วยที่มีอาการ Long Covid ควรหมั่นสังเกตอาการและฟังเสียงร่างกายของตนเองอยู่เสมอ หากอาการไม่ดีขึ้นหรือมีอาการรุนแรง เช่น หายใจลำบาก หัวใจเต้นเร็วผิดปกติ ปวดศีรษะหรือปวดท้องอย่างรุนแรง ควรรีบพบแพทย์เพื่อวินิจฉัยสาเหตุและรับการรักษาอย่างเหมาะสมต่อไป
โปรแกรมฟื้นฟู Long Covid (ลองโควิด) โดยไม่พึ่งยา ที่ LINNA Wellness
ฟื้นฟูร่างกายในช่วง Long Covid ให้กลับมาแข็งแรงสดใสและช่วยลดโอกาสการเกิดภาวะแทรกซ้อนจากอาการ Long Covid ได้อย่างมีประสิทธิภาพโดยไม่ต้องพึ่งยา LINNA Wellness ขอแนะนำโปรแกรม Ozone Therapy (EBOO PLUS Technique) นวัตกรรมการฟื้นฟูสุขภาพด้วยการเติมโอโซนบริสุทธิ์เข้าสู่เส้นเลือดเพื่อกระตุ้นการทำงานของเซลล์เม็ดเลือด ฟื้นฟูภาวะอักเสบภายในร่างกายหลังการติดเชื้อไวรัส Covid 19 ช่วยฟื้นฟูระบบภูมิคุ้มกัน และปรับสมดุลให้ระบบต่างๆ ในร่างกายกลับมาทำงานได้อย่างเป็นปกติ ด้วยเครื่องมือมาตรฐานระดับสากลพร้อมระบบควบคุมโอโซนที่เหมาะสมสำหรับผู้ป่วยแต่ละรายบุคคล ภายใต้การดูแลอย่างใกล้ชิดของอาจารย์แพทย์ที่มีประสบการณ์ด้านการทำ Ozone Therapy (EBOO PLUS Technique) มากกว่า 12 ปี และผ่านเคสการดูแลผู้ป่วยมาแล้วกว่า 20,000 ราย สนใจฟื้นฟูร่างกายจากอาการ Long Covid ด้วยนวัตกรรมที่ปลอดภัยและมีประสิทธิภาพ สามารถติดต่อ LINNA Clinic เพื่อรับคำปรึกษาและวางแผนฟื้นฟูสุขภาพอย่างละเอียดได้ที่ไลน์ @linnaclinic หรือโทร 063-609-8888