โรคหัวใจ (Heart Disease) เป็นกลุ่มของโรคและสภาวะที่ส่งผลกระทบต่อการทำงานของหัวใจซึ่งอาจส่งผลต่อสุขภาพและชีวิต โดยประเภทของโรคหัวใจที่พบบ่อยมีหลายชนิด ได้แก่ โรคหัวใจเต้นผิดจังหวะ โรคกล้ามเนื้อหัวใจ โรคหัวใจพิการแต่กำเนิด โรคลิ้นหัวใจ โดยเฉพาะอย่างยิ่งโรคหลอดเลือดหัวใจ (Coronary Artery Disease: CAD) ซึ่งเป็นสาเหตุของการเสียชีวิตเป็นอันดับต้นๆ ของคนไทย การเตรียมความพร้อมและมองหาวิธีป้องกันโรคหลอดเลือดหัวใจตั้งแต่เนิ่นๆ จึงเป็นแนวทางสำคัญในการลดความเสี่ยงของการเกิดโรคและส่งเสริมคุณภาพชีวิตให้ดียิ่งขึ้น
Table of Contents
โรคหลอดเลือดหัวใจ คืออะไร
โรคหลอดเลือดหัวใจ (Coronary Artery Disease: CAD) คือ ภาวะที่หลอดเลือดแดงซึ่งทำหน้าที่หล่อเลี้ยงกล้ามเนื้อหัวใจ (Coronary Arteries) เกิดการตีบแคบหรืออุดตันเนื่องจากมีการสะสมตะกอนไขมัน คอเลสเตอรอลหรือแคลเซียมภายในผนังหลอดเลือด โดยเรียกกระบวนการเหล่านี้ว่า ภาวะหลอดเลือดแดงแข็ง (Atherosclerosis) ทำให้เลือดไหลเวียนไปยังกล้ามเนื้อหัวใจน้อยลง ส่งผลให้หัวใจได้รับออกซิเจน (Oxygen) และสารอาหารจำเป็นไม่เพียงพอต่อความต้องการ หากหลอดเลือดแดงตีบแคบจนเกิดการอุดตัน อาจทำให้เกิดภาวะกล้ามเนื้อหัวใจตายเฉียบพลัน (Heart Attack) ซึ่งเป็นอันตรายร้ายแรงที่อาจทำให้ผู้ป่วยเสียชีวิตหากไม่ได้รับการรักษาอย่างทันท่วงที
สัญญาณเตือนของโรคหลอดเลือดหัวใจ
โรคหลอดเลือดหัวใจในระยะเริ่มต้นมักไม่แสดงอาการอย่างชัดเจน เนื่องจากการสะสมของไขมันและคราบต่างๆ เกิดขึ้นอย่างค่อยเป็นค่อยไป อย่างไรก็ตามเมื่อโรคหลอดเลือดหัวใจมีความรุนแรงมากขึ้นอาจมีสัญญาณเตือนของโรค ดังนี้
- มีอาการเจ็บแน่นหน้าอก (Angina) รู้สึกเจ็บแน่นบริเวณกลางอกคล้ายถูกของหนักกดทับ อาจปวดร้าวไปที่กราม แขนหรือไหล่ข้างใดข้างหนึ่ง และอาการมักจะเกิดขึ้นอย่างชัดเจนในขณะออกแรง
- เหนื่อยง่ายผิดปกติ ผู้ป่วยมักรู้สึกหมดแรง อ่อนล้าบ่อย และไม่สามารถทำกิจวัตรประจำวันได้ตามปกติ
- หายใจได้ไม่เป็นอิ่มหรือหายใจลำบาก โดยเฉพาะเมื่อต้องทำกิจกรรมที่ต้องใช้แรงหนักหรือในขณะที่นอนราบ เนื่องจากมีเลือดไหลเวียนไปเลี้ยงปอดและหัวใจน้อยกว่าปกติ
- รู้สึกเจ็บแน่นหรือกดทับที่บริเวณลิ้นปี่ โดยอาการมักจะเป็นๆ หายๆ ครั้งละไม่เกิน 15-20 นาที และจะรู้สึกดีขึ้นเมื่อได้นั่งพัก
- มีเหงื่อออกมากผิดปกติ โดยไม่เกี่ยวข้องกับอุณหภูมิหรือกิจกรรมที่ทำซึ่งโดยส่วนใหญ่มักเกิดร่วมกับอาการแน่นหน้าอก ใจสั่น หน้ามืดและเป็นลม
- หมดสติหรือหัวใจหยุดเต้นเฉียบพลัน เนื่องจากมีเลือดสูบฉีดไปเลี้ยงหัวใจไม่เพียงพอและทำให้เกิดภาวะกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือด หากผู้ป่วยไม่ได้รับการรักษาอย่างทันท่วงทีอาจทำให้เสียชีวิตได้
สาเหตุและปัจจัยเสี่ยงที่ทำให้เกิดโรคหลอดเลือดหัวใจ
สาเหตุหลักที่ทำให้เกิดโรคหลอดเลือดหัวใจ
- การสะสมของคราบไขมันภายในหลอดเลือดแดง นับรวมไปจนถึงการสะสมของคอเลสเตอรอล แคลเซียม และเศษซากเซลล์ในผนังหลอดเลือดที่ค่อยๆ สะสมพอกจนกลายเป็นคราบพอกขนาดใหญ่ส่งผลให้หลอดเลือดตีบตันและแข็งตัวในที่สุด
- ภาวะลิ่มเลือดอุดตัน (Thrombosis) เป็นภาวะที่มีลิ่มเลือดเกิดขึ้นภายในหลอดเลือดแดงและส่งผลให้เกิดการอุดตัน เลือดไหลเวียนได้ไม่สะดวก
- การอักเสบในหลอดเลือด กระบวนการอักเสบภายในหลอดเลือดที่เกิดจากการติดเชื้อหรือปัจจัยอื่นๆ อาจนำไปสู่การก่อตัวของคราบพลัค (Plaque) หรือการหลุดลอกของเยื่อบุหลอดเลือดและเซลล์ ซึ่งสามารถเพิ่มความเสี่ยงต่อการเกิดโรคหลอดเลือดหัวใจได้
ปัจจัยเสี่ยงที่ทำให้เกิดโรคหลอดเลือดหัวใจ
สามารถแบ่งปัจจัยเสี่ยงที่ทำให้เกิดโรคหลอดเลือดหัวใจออกเป็น 2 กลุ่มหลัก ดังนี้
- ปัจจัยเสี่ยงที่ควบคุมได้ โดยส่วนใหญ่เกิดจากพฤติกรรมและรูปแบบการใช้ชีวิตของผู้ป่วย ซึ่งสามารถปรับเปลี่ยนหรือจัดการเพื่อช่วยลดความเสี่ยงในการเกิดโรคได้
- การสูบบุหรี่ ผู้สูบบุหรี่มีความเสี่ยงต่อการเกิดโรคหลอดเลือดหัวใจมากกว่าคนทั่วไปถึง 2-4 เท่า เนื่องจากสารนิโคตินและคาร์บอนมอนอกไซด์ในบุหรี่ส่งผลเสียต่อผนังหลอดเลือด และเพิ่มความเสี่ยงการสะสมของไขมันในหลอดเลือด
- ระดับไขมันในเลือดสูงหรือผิดปกติ การมีระดับ LDL (ไขมันเลว) สูงเกินไปจะกระตุ้นการสะสมของคราบไขมันในหลอดเลือด ทำให้หลอดเลือดตีบแคบลง
- ความดันโลหิตสูง (Hypertension) ความดันโลหิตที่สูงอย่างต่อเนื่องทำให้กล้ามเนื้อหัวใจต้องทำงานหนักขึ้น และอาจทำให้ผนังหลอดเลือดเสียหายหรือแข็งตัวได้
- โรคเบาหวาน (Diabetes) ระดับน้ำตาลในเลือดที่สูงส่งผลให้หลอดเลือดเสื่อมสภาพเร็วขึ้น และเกิดการสะสมของคราบตะกอนในผนังหลอดเลือดได้มากขึ้น
- โรคอ้วนหรือภาวะน้ำหนักตัวเกิน ซึ่งเพิ่มความเสี่ยงต่อโรคหลอดเลือดหัวใจโดยเกี่ยวข้องกับความดันโลหิตสูงและระดับไขมันในเลือดที่ผิดปกติ
- พฤติกรรมการรับประทานที่ไม่เหมาะสม การบริโภคอาหารที่มีน้ำตาล เกลือ และไขมันสูง หรือการดื่มแอลกอฮอล์ในปริมาณมาก อาจเพิ่มความเสี่ยงของโรคหัวใจและหลอดเลือด
- พฤติกรรมเนือยนิ่งและขาดการออกกำลังกาย การขาดการเคลื่อนไหวร่างกายส่งผลให้การเผาผลาญพลังงานลดลง หัวใจและหลอดเลือดขาดความแข็งแรง ซึ่งเป็นปัจจัยเสี่ยงต่อโรคหลอดเลือดหัวใจ
- ความเครียดสะสม และการนอนหลับพักผ่อนน้อย ทำให้ระดับความดันโลหิตสูงและเพิ่มความเสี่ยงต่อการเกิดโรคหลอดเลือดหัวใจ
- ปัจจัยเสี่ยงที่ควบคุมไม่ได้
- อายุ โดยปกติแล้วความเสี่ยงของการเกิดโรคหลอดเลือดหัวใจมักเพิ่มขึ้นตามอายุ โดยเฉพาะผู้ชายอายุเกิน 45 ปี และผู้หญิงอายุเกิน 55 ปี
- เพศ เพศชายมักมีความเสี่ยงสูงกว่าในช่วงวัยหนึ่ง ในขณะที่เพศหญิงมักมีความเสี่ยงสูงเมื่อเข้าสู่วัยหมดประจำเดือน
- พันธุกรรม ผู้ที่มีประวัติคนในครอบครัวเคยเป็นโรคหัวใจรวมถึงโรคอื่นๆ ที่เป็นปัจจัยร่วม เช่น ไขมันในเลือดสูง เบาหวาน ความดันเลือดสูง มักมีความเสี่ยงของการเกิดโรคหลอดเลือดหัวใจมากกว่าบุคคลทั่วไป
วิธีป้องกันโรคหัวใจ โรคหลอดเลือดหัวใจ
โรคหลอดเลือดหัวใจเป็นภัยเงียบที่มักไม่แสดงอาการชัดเจนในระยะเริ่มต้นแต่อย่างไรก็ตามสามารถป้องกันโรคหัวใจ โรคหลอดเลือดหัวใจได้ในระดับหนึ่งด้วยการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการใช้ชีวิตร่วมกับการดูแลสุขภาพอย่างเหมาะสม ดังนี้
- เลิกสูบบุหรี่ บุหรี่ไฟฟ้า รวมถึงหลีกเลี่ยงการอยู่ใกล้ชิดกับผู้ที่สูบบุหรี่
- ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ เพื่อเสริมความแข็งแรงให้กับหัวใจและหลอดเลือด
- ควบคุมแคลอรีที่ต้องได้รับต่อวันอย่างเหมาะสม รับประทานอาหารที่มีประโยชน์ให้ครบ 5 หมู่ หลีกเลี่ยงอาหารที่มีน้ำตาล เกลือและไขมันสูง
- ควบคุมน้ำหนักตัวให้อยู่ในเกณฑ์ปกติอยู่เสมอ และหมั่นขยับร่างกายบ่อยๆ ในช่วงระหว่างวัน
- ควบคุมโรคประจำตัวให้เป็นปกติ ได้แก่ โรคความดันโลหิตสูง ไขมันในเลือดและโรคเบาหวาน โดยควรรับประทานยาตามแพทย์สั่งอย่างเคร่งครัดและปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการใช้ชีวิตให้เหมาะสม
- ตรวจสุขภาพเป็นประจำ ควรเข้ารับการตรวจสุขภาพทั่วไป รวมถึงการตรวจสุขภาพหัวใจ ระดับไขมันในเลือด และโรคเบาหวาน อย่างน้อยปีละ 1 ครั้ง หรืออาจบ่อยกว่านั้นในผู้ที่มีความเสี่ยงสูง เพื่อให้สามารถประเมินความเสี่ยงและวางแผนดูแลสุขภาพได้อย่างเหมาะสม
การดูแลตัวเองของผู้เป็นโรคหัวใจ โรคหลอดเลือดหัวใจ
แม้ว่าโรคหลอดเลือดหัวใจจะเป็นโรคเรื้อรังอันตราย แต่การดูแลตัวเองอย่างเหมาะสมถือเป็นกุญแจสำคัญในการลดความเสี่ยงจากภาวะแทรกซ้อนพร้อมทั้งช่วยให้ผู้ป่วยสามารถมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้นและยืนยาวได้ ดังนี้
- รับประทานยาตามคำสั่งแพทย์อย่างเคร่งครัดและพบแพทย์ตามกำหนดนัด
- หลีกเลี่ยงพฤติกรรมที่กระตุ้นความรุนแรงของโรค งดสูบบุหรี่ งดดื่มแอลกอฮอล์ ควบคุมอาหารที่ต้องทานอย่างเหมาะสมโดยเน้นทานอาหารที่ดีต่อสุขภาพ ลดหวาน มัน เค็ม
- ออกกำลังกายในระดับความเข้มข้นที่พอเหมาะอย่างสม่ำเสมอ และหมั่นขยับร่างกายเป็นประจำ
- นอนหลับพักผ่อนให้เพียงพอ หลีกเลี่ยงสถานการณ์ที่ทำให้หัวใจทำงานหนักเกินไปและจัดการความเครียดอย่างเหมาะสม
- หากมีอาการผิดปกติ เช่น เจ็บหน้าอก หายใจไม่เต็มอิ่ม เจ็บจุกที่ลิ้นปี่ต่อเนื่องหลายชั่วโมง มีอาการวิงเวียนศีรษะหรือหัวใจเต้นผิดจังหวะ ควรรีบเข้าพบแพทย์ทันที
โปรแกรมฟื้นฟูโรคหัวใจ โรคหลอดเลือดหัวใจ ที่ LINNA Clinic
นวัตกรรมใหม่เพื่อการฟื้นฟูร่างกายที่ LINNA Clinic ด้วยโปรแกรม Ozone Therapy (EBOO PLUS Technique) ทางเลือกในการดูแลสุขภาพโดยพึ่งยาเท่าที่จำเป็น เหมาะสำหรับผู้ที่มีปัญหาเกี่ยวกับโรคหัวใจและโรคหลอดเลือดหัวใจด้วยการบำบัดที่ใช้การเติมโอโซนบริสุทธิ์เข้าสู่เส้นเลือดดำ เพื่อกระตุ้นการทำงานของเซลล์เม็ดเลือด เสริมสร้างระบบภูมิคุ้มกัน และฟื้นฟูเซลล์เนื้อเยื่อต่างๆ ให้กลับมาทำงานอย่างสมดุล ด้วยเครื่องมือที่ได้มาตรฐานและระบบควบคุมระดับโอโซนที่เหมาะสมกับสภาวะร่างกายของผู้เข้ารับการบำบัดแบบเฉพาะรายบุคคล ภายใต้การดูแลของทีมแพทย์ผู้เชี่ยวชาญที่มีประสบการณ์ด้านการทำ Ozone Therapy (EBOO PLUS Technique) มากกว่า 12 ปี ผ่านการรักษามาแล้วกว่า 20,000 เคส สามารถติดต่อจองคิวเพื่อรับการประเมินร่างกายอย่างละเอียดและวางแผนก่อนเข้ารับโปรแกรมฟื้นฟูโรคหัวใจ โรคหลอดเลือดหัวใจโดยอาจารย์แพทย์ของ LINNA Clinic ได้ที่ไลน์ @linnaclinic หรือโทร 063-609-8888