เสื่อมสมรรถภาพทางเพศ นกเขาไม่ขัน ดีขึ้นได้ ด้วย 5 วิธีนี้ โดยไม่ต้องพึ่งยา

นกเขาไม่ขัน หรือ โรคเสื่อมสมรรถภาพทางเพศ ไม่ใช่เรื่องน่าอาย แต่เป็นปัญหาสุขภาพที่คุณผู้ชายหลายคนต้องพบเจอ จากข้อมูลพบว่ามีผู้ชายมากกว่า 152 ล้านคนทั่วโลกที่กำลังประสบกับปัญหานี้โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่ออายุมากขึ้นหรือต้องเจอกับความเครียดในชีวิตประจำวัน ปัญหานกเขาไม่ขันไม่เพียงแต่ส่งผลกระทบต่อสุขภาพร่างกาย แต่ยังสร้างบาดแผลทางจิตใจ ทำให้เกิดความวิตกกังวล ซึมเศร้าหรือรู้สึกไม่มั่นใจในตัวเอง นอกจากนี้ยังอาจส่งผลต่อความสัมพันธ์ในชีวิตคู่และการวางแผนมีบุตรในอนาคต หากคุณผู้ชายท่านไหนที่กำลังประสบปัญหานกเขาไม่ขัน อวัยวะเพศไม่แข็งตัว และกำลังมองหาวิธีฟื้นฟูร่างกายโดยไม่ต้องพึ่งพายา บทความนี้จาก LINNA Clinic มีคำตอบ

Table of Contents

โรคเสื่อมสมรรถภาพทางเพศ คืออะไร

โรคเสื่อมสมรรถภาพทางเพศ นกเขาไม่ขัน มีชื่อเรียกทางการแพทย์ว่า ภาวะหย่อนสมรรถภาพทางเพศ (Erectile Dysfunction: ED) คือ ภาวะที่อวัยวะเพศชายไม่แข็งตัว หรือไม่สามารถแข็งตัวได้นานพอสำหรับการมีเพศสัมพันธ์ ซึ่งอาจเกิดขึ้นเป็นครั้งคราวหรือเป็นประจำอย่างต่อเนื่องจนสร้างผลกระทบต่อคุณภาพชีวิตของคุณผู้ชายทั้งด้านสุขภาพร่างกายเนื่องจากภาวะเสื่อมสมรรถภาพทางเพศ นกเขาไม่ขัน อาจเป็นสัญญาณขั้นต้นของโรคเรื้อรังต่างๆ เช่น โรคหัวใจและหลอดเลือด โรคเบาหวานหรือความผิดปกติของฮอร์โมน ด้านอารมณ์และจิตใจ ทำให้คุณผู้ชายรู้สึกอับอาย วิตกกังวลหรือซึมเศร้า อีกทั้งยังส่งผลต่อชีวิตคู่ ทำให้ความสัมพันธ์เกิดความตึงเครียดและเปราะบาง

อาการและสาเหตุของโรคเสื่อมสมรรถภาพทางเพศ อาการของโรคเสื่อมสมรรถภาพทางเพศ นกเขาไม่ขัน

  • อวัยวะเพศไม่แข็งตัว ไม่สามารถทำให้อวัยวะเพศแข็งตัวได้ หรือแข็งตัวได้ไม่เพียงสำหรับการมีเพศสัมพันธ์
  • การแข็งตัวของอวัยวะเพศไม่คงที่ อวัยวะเพศสามารถแข็งตัวได้ในช่วงเริ่มต้นแต่ไม่สามารถรักษาสภาพการแข็งตัวไว้ได้ตลอดระยะเวลาการปฏิบัติกิจทางเพศ ส่งผลให้ไม่เกิดความพึงพอใจหรือความสำเร็จในการมีเพศสัมพันธ์
  • ความต้องการทางเพศลดลง ที่อาจเกิดขึ้นได้ในบางรายเนื่องจากความผิดปกติของฮอร์โมนเทสโทสเทอโรน (Testosterone) รวมไปจนถึงความเครียดและวิตกกังวลซึ่งส่งผลโดยตรงกับสมรรถภาพทางเพศ
  • มีปัญหาหลั่งเร็วหรือหลั่งช้า ทั้งการหลั่งที่เกิดขึ้นเร็วเกินไป (Premature Ejaculation) หรือความยากลำบากในการถึงจุดสุดยอด (Delayed Ejaculation) จนส่งผลต่อความพึงพอใจในชีวิตทางเพศ

สาเหตุของโรคเสื่อมสมรรถภาพทางเพศ

จากข้อมูลทางการแพทย์พบว่าสาเหตุที่ทำให้เกิดโรคเสื่อมสมรรถภาพทางเพศอาจเกิดขึ้นจาก สาเหตุทางด้านร่างกาย ด้านจิตใจ พฤติกรรม และอาจเกิดขึ้นได้จากหลายสาเหตุร่วมกัน ดังนี้

  • ความผิดปกติของอวัยวะเพศ เช่น อวัยวะเพศสั้นหรือเล็กผิดปกติ (Micropenis) เนื่องจากการพัฒนาตัวได้ไม่เต็มที่ของอวัยวะเพศ โรคเพโรนีย์ (Peyronie’s Disease) ทำให้อวัยวะเพศมีลักษณะโค้งงอผิดปกติและแข็งตัวได้ยาก ความผิดปกติของหลอดเลือดและเส้นประสาทที่เชื่อมต่อกับอวัยวะเพศ รวมถึงการบาดเจ็บที่อวัยวะเพศ อุ้งเชิงกรานหรือไขสันหลัง ส่งผลให้อวัยวะเพศไม่แข็งตัว หรือแข็งตัวได้ไม่นานพอ
  • การเปลี่ยนแปลงด้านฮอร์โมน ภาวะพร่องฮอร์โมนเพศชาย ส่งผลให้ระดับเทสโทสเทอโรนลดลง หรือความไม่สมดุลของฮอร์โมนอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องกับระบบสืบพันธุ์
  • ผู้มีประวัติป่วยเป็นโรคเรื้อรัง เช่น โรคหลอดเลือดและหัวใจ โรคเบาหวาน โรคไต โรคทางระบบประสาท โรคอ้วน
  • ความผิดปกติด้านจิตใจ เช่น ความเครียดและวิตกกังวล ภาวะซึมเศร้า
  • การใช้ยารักษาโรคบางชนิดที่อาจส่งผลกระทบต่อแรงขับทางเพศ เช่น ยาต้านซึมเศร้า ยารักษาโรคลมชักและโรคชัก ยาลดความดันโลหิต ยากล่อมประสาท ยารักษาโรคพาร์กินสัน ยาต้านฮอร์โมนหรือยารักษามะเร็ง ฯลฯ
  • พฤติกรรมการใช้ชีวิต เช่น การสูบบุหรี่ การดื่มสุราและแอลกอฮอล์ การใช้ยาและสารเสพติด การขาดการออกกำลังกาย และการพักผ่อนไม่เพียงพอ

5 แนวทางการฟื้นฟูดูแลสำหรับลดภาวะเสื่อมสมรรถภาพทางเพศ

ปัญหานกเขาไม่ขัน หรือภาวะเสื่อมสมรรถภาพทางเพศ สามารถฟื้นฟูให้ดีขึ้นได้โดยไม่จำเป็นต้องพึ่งพายาเพียงอย่างเดียวเสมอไป ด้วยวิธีดูแลร่างกายและปรับเปลี่ยนพฤติกรรมดังนี้

  • ลดหรืองดสูบบุหรี่ เพื่อช่วยฟื้นฟูการทำงานของหลอดเลือดและเพิ่มการไหลเวียนเลือดไปยังอวัยวะเพศ ลดโอกาสเกิดภาวะเสื่อมสมรรถภาพทางเพศอย่างมีนัยสำคัญ นอกจากนี้การลดหรืองดสูบบุหรี่ยังช่วยปรับสมดุลฮอร์โมน และลดความเสี่ยงต่อโรคเรื้อรังอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง เช่น โรคหัวใจและหลอดเลือด โรคมะเร็ง โรคเบาหวาน ฯลฯ
  • ออกกำลังกายเป็นประจำ เช่น การเดิน วิ่ง ว่ายน้ำ หรือการบริหารกล้ามเนื้ออุ้งเชิงกราน (Kegel Exercises) เพื่อกระตุ้นการไหลเวียนของเลือด ช่วยเพิ่มความแข็งแรงของกล้ามเนื้อและฟื้นฟูสมรรถภาพทางเพศโดยรวม นอกจากนี้การออกกำลังกายเป็นประจำยังมีส่วนช่วยในการลดน้ำหนักซึ่งเป็นอีกหนึ่งปัจจัยสำคัญของการเกิดโรคเสื่อมสมรรถภาพทางเพศ
  • โปรแกรม Ozone Therapy ด้วย Eboo+ Technique นวัตกรรมทางเลือกเพื่อการบำบัดร่างกายด้วยการเติมโอโซนบริสุทธิ์ (Ozone) เข้ากับเลือดและกรองทำความสะอาดด้วยฟิลเตอร์ชนิดพิเศษ จากนั้นเลือดที่ได้รับการบำบัดจะถูกส่งกลับเข้าสู่ร่างกายอย่างช้าๆ วิธีนี้ช่วยเพิ่มออกซิเจนและพลังงานในระดับเซลล์ กระตุ้นการไหลเวียนโลหิต ลดการอักเสบและช่วยกำจัดสารพิษในหลอดเลือด ส่งผลให้หลอดเลือดแข็งแรงและทำงานได้อย่างเต็มที่ ช่วยฟื้นฟูดูแลและลดภาวะเสื่อมสมรรถภาพทางเพศได้อย่างมีประสิทธิภาพ โดยทุกขั้นตอนของ โปรแกรม Ozone Therapy Eboo+ Technique ที่ LINNA Wellness อยู่ภายใต้การดูแลอย่างใกล้ชิดของอาจารย์แพทย์ผู้เชี่ยวชาญที่มีประสบการณ์ในด้าน Ozone Therapy (EBOO PLUS Technique) มากกว่า 12 ปี และผ่านการดูแลผู้ป่วยมาแล้วกว่า 20,000 ราย จึงมั่นใจได้ในคุณภาพและความปลอดภัยของโปรแกรมบำบัด
  • ให้ฮอร์โมนชายทดแทน (Testosterone Replacement Therapy :TRT) ในกรณีที่ระดับฮอร์โมนเพศชายต่ำกว่าปกติแพทย์อาจพิจารณาการให้ฮอร์โมนเพศชายทดแทนด้วยการใช้ยารับประทาน การฉีดยา การใช้แผ่นแปะหรือการฝังฮอร์โมนใต้ชั้นผิวหนัง เพื่อฟื้นฟูแรงขับทางเพศ ช่วยเพิ่มระดับพลังงานและปรับปรุงการแข็งตัวของอวัยวะเพศให้ดีขึ้น โดยกระบวนการรักษานี้ควรอยู่ภายใต้การดูแลของผู้เชี่ยวชาญอย่างใกล้ชิดเพื่อป้องกันผลข้างเคียงที่อาจเกิดขึ้น
  • ลดความเครียดและจัดการอารมณ์ ความเครียดและความวิตกกังวลส่งผลโดยตรงต่อสมรรถภาพทางเพศ การจัดการอารมณ์ด้วยวิธีต่างๆ เช่น การทำสมาธิ โยคะ การพูดคุยกับนักจิตวิทยา หรือการทำกิจกรรมที่ช่วยผ่อนคลายเพื่อปรับสมดุลจิตใจ ลดความวิตกกังวลและเสริมความมั่นใจในตนเอง

โรคเสื่อมสมรรถภาพทางเพศ นกเขาไม่ขัน อาจเกิดขึ้นได้จากหลายสาเหตุร่วมกันซึ่งส่งผลกระทบโดยรวมทั้งต่อสุขภาพร่างกาย จิตใจ ตลอดไปจนถึงความสัมพันธ์ในชีวิตคู่ อย่างไรก็ตามสามารถใช้วิธีดูแลฟื้นฟูและลดภาวะเสื่อมสมรรถภาพทางเพศได้โดยไม่ต้องพึ่งยาด้วยการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพอย่างเหมาะสม พยายามงดหรือลดสูบบุหรี่ ออกกำลังกายสม่ำเสมอ ทำจิตใจให้แจ่มใส การปรึกษาแพทย์ผู้เชี่ยวชาญเพื่อให้ฮอร์โมนทดแทน และนวัตกรรมทางเลือกเพื่อช่วยฟื้นฟูภาวะเสื่อมสมรรถภาพทางเพศด้วยโปรแกรม Ozone Therapy Eboo+ Technique โดยอาจารย์แพทย์ผู้มีประสบการณ์มากกว่า 12 ปี สำหรับผู้ที่สนใจสามารถติดต่อ LINNA Clinic เพื่อรับการประเมินอย่างละเอียดและวางแผนการฟื้นฟูสุขภาพได้ที่ไลน์ @linnaclinic หรือโทร 063-609-8888

บทความที่เกี่ยวข้อง

Scroll to Top