EBOO Therapy การบำบัดเพื่อฟื้นฟูหลอดเลือดหลังการฉีดวัคซีนโควิด-19

ในช่วงการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 การฉีดวัคซีนโควิด-19 ถือเป็นมาตรการสำคัญเพื่อการเสริมสร้างภูมิคุ้มกันหมู่ ช่วยลดความรุนแรงของโรคและป้องกันการเสียชีวิตหลังได้รับเชื้อ ถึงแม้วัคซีนจะมีประโยชน์อยู่ด้วยกันหลายประการแต่อาจทำให้เกิดผลข้างเคียงได้ในบางกรณี เช่น ภาวะลิ่มเลือดอุดตัน (Thrombosis) ซึ่งแม้จะพบได้ไม่บ่อยนักแต่ก็เป็นประเด็นที่หลายๆ คนรู้สึกกังวลโดยเฉพาะอย่างยิ่งผู้ที่มีปัจจัยเสี่ยงเป็นทุนเดิม ส่งผลให้นวัตกรรมฟื้นฟูหลอดเลือดกลายเป็นอีกหนึ่งตัวเลือกสำคัญที่ได้รับความนิยมเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว โดยเฉพาะ EBOO Therapy (Extracorporeal Blood Oxygenation and Ozonation) หรือการบำบัดด้วยโอโซนทางหลอดเลือดที่มีส่วนช่วยฟื้นฟูระบบไหลเวียนโลหิต ขจัดสารพิษและเสริมสร้างความสมดุลให้ร่างกายหลังฉีดวัคซีนโควิด-19 วัคซีน covid-19 ทำให้เกิดภาวะลิ่มเลือดอุดตันจริงหรือไม่? มีวิธีฟื้นฟูร่างกายด้วยวิธีใดบ้าง ติดตามคำตอบได้พร้อมๆ กันในบทความนี้จาก LINNA Clinic (ลินนา คลินิก)

Table of Contents

วัคซีน covid-19 ทำให้เกิดภาวะลิ่มเลือดอุดตันจริงหรือไม่?

แม้ว่าวัคซีนโควิด-19 จะมีบทบาทสำคัญในการลดอัตราการป่วยหนักและเสียชีวิต แต่ก็มีข้อกังวลเกี่ยวกับผลข้างเคียงบางอย่าง หนึ่งในนั้นคือ ภาวะลิ่มเลือดอุดตัน (Thrombosis) ร่วมกับภาวะเกล็ดเลือดต่ำซึ่งเป็นภาวะที่เกิดจากการจับตัวของเกล็ดเลือดส่งผลให้เลือดไหลเวียนผิดปกติ จากการศึกษาทางการแพทย์พบว่าวัคซีนชนิดไวรัสเวกเตอร์ (Viral Vector Vaccines) ที่ใช้ไวรัสอะดีโนเป็นพาหะ เช่น AstraZeneca และ Johnson & Johnson อาจมีความเกี่ยวข้องกับภาวะลิ่มเลือดอุดตันที่เกิดจากภูมิคุ้มกันผิดปกติ หรือที่เรียกว่า Vaccine-Induced Immune Thrombotic Thrombocytopenia (VITT) อย่างไรก็ตามภาวะนี้พบได้น้อยมากแต่เป็นภาวะที่มีความรุนแรงสูง จากข้อมูลพบว่ามีอัตราการเกิดภาวะ VITT ประมาณ 1 ใน 26,500 ถึง 1 ใน 518,181 คนที่ได้รับวัคซีน AstraZeneca และมีอัตราการเกิด 1 ใน 263,000 คนที่ได้รับวัคซีน Johnson & Johnson (Allas, Arizala, & Manalo, 2022) สำหรับวัคซีนชนิด mRNA เช่น Pfizer และ Moderna ไม่มีรายงานว่าทำให้เกิดภาวะลิ่มเลือดโดยตรง แต่ถึงอย่างไรก็ตามรายงานจากศูนย์ควบคุมโรคสหรัฐฯ (CDC) และองค์การอนามัยโลก (WHO) ระบุว่าประโยชน์ของวัคซีนโควิด-19 ในการป้องกันการติดเชื้อและลดความรุนแรงของโรคยังมีมากกว่าความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้นจากผลข้างเคียง

อาการของภาวะ VITT หลังฉีดวัคซีน covid

จากงานวิจัยข้างต้นแสดงข้อมูลให้เห็นว่ากลุ่มผู้ป่วยที่วินิจฉัยว่ามีภาวะ  VITT มักเกิดภาวะผิดปกติได้ภายใน 4-28 วัน และอาจกินเวลานานถึง 30 วันหลังได้รับวัคซีน โดยผู้ป่วยอาจมีอาการเริ่มต้นด้วยการมีไข้ มีรอยฟกช้ำเล็กน้อย หากมีภาวะลิ่มเลือดอุดตันในสมองอาจทำให้รู้สึกวิงเวียนศีรษะ ตาพร่ามัว คลื่นไส้อาเจียน แขน ขา อ่อนแรง หรือหากมีลิ่มเลือดอุดตันภายในช่องท้อง อาจทำให้ปวดท้องอย่างรุนแรง คลื่นไส้ ร่วมกับการถ่ายเป็นเลือดได้ ทั้งนี้ผู้ที่เข้ารับการฉีดวัคซีนโควิด-19 โดยเฉพาะในช่วง 1-30 วันแรกหลังฉีด ควรสังเกตอาการของตนเองอย่างต่อเนื่อง และรีบเข้าพบแพทย์เพื่อตรวจวินิจฉัยร่างกายอย่างละเอียดเมื่อมีอาการที่ผิดปกติ

EBOO Therapy คืออะไร? มีกลไกการทำงานอย่างไร?

EBOO Therapy (Extracorporeal Blood Oxygenation and Ozonation) คือการบำบัดที่ผสานการเติมโอโซนบริสุทธิ์เข้ากับเลือดนอกร่างกาย แล้วนำเลือดที่ผ่านการบำบัดกลับเข้าสู่ร่างกายผ่านทางเส้นเลือดดำ กระบวนการนี้ช่วยกระตุ้นการทำงานของเซลล์เม็ดเลือด ระบบภูมิคุ้มกัน และเซลล์เนื้อเยื่อต่างๆ ให้กลับมาทำงานได้อย่างเต็มประสิทธิภาพ โดยมีหลักการทำงานสำคัญของ EBOO Therapy ดังนี้

  • การเติมโอโซนเข้ากับเลือด เลือดของผู้เข้ารับการบำบัดจะถูกนำออกจากร่างกายและผสมกับโอโซนบริสุทธิ์ในความเข้มข้นต่ำ (ประมาณ 1-0.5 ไมโครกรัม/มิลลิลิตร) อย่างต่อเนื่อง การใช้ความเข้มข้นต่ำนี้ช่วยลดความเสี่ยงของภาวะโอโซนเป็นพิษและป้องกันการแตกของเม็ดเลือดแดง
  • การกรองและทำความสะอาดเลือด เลือดที่ผสมกับโอโซนจะถูกกรองผ่านฟิลเตอร์พิเศษเพื่อกำจัดของเสียและสารพิษ กระบวนการนี้ช่วยทำความสะอาดเลือดก่อนนำกลับเข้าสู่ร่างกาย
  • การตรวจสอบความปลอดภัยแบบเรียลไทม์ ในระหว่างการบำบัด มีระบบตรวจจับลักษณะของเม็ดเลือดแดงแบบเรียลไทม์ หากพบความผิดปกติ แพทย์สามารถหยุดการบำบัดได้ทันทีเพื่อความปลอดภัยของผู้ป่วย
  • การนำเลือดกลับเข้าสู่ร่างกาย หลังจากผ่านการผสมโอโซนและการกรอง เลือดที่ได้รับการบำบัดจะถูกส่งกลับเข้าสู่ร่างกายผ่านทางเส้นเลือดดำอย่างช้าๆ กระบวนการนี้ช่วยเพิ่มการไหลเวียนของเลือด ลดการอักเสบ และเสริมสร้างระบบภูมิคุ้มกัน ในขณะเดียวกัน EBOO Therapy จะมีการตรวจจับลักษณะของเม็ดเลือดแดงแบบเรียลไทม์ หากพบความผิดปกติ แพทย์สามารถหยุดขั้นตอนได้ทันทีเพื่อความปลอดภัยของผู้เข้ารับบำบัด

EBOO Therapy สามารถฟื้นฟูหลอดเลือดหลังการฉีดวัคซีนโควิด-19 ได้อย่างไร

EBOO Therapy (Extracorporeal Blood Oxygenation and Ozonation) คือ การบำบัดที่ผสานการเติมโอโซนบริสุทธิ์เข้ากับเลือดนอกร่างกายแล้วนำเลือดที่ผ่านการบำบัดกลับเข้าสู่ร่างกายผ่านทางเส้นเลือดดำ กระบวนการนี้ช่วยกระตุ้นการทำงานของเซลล์เม็ดเลือด ระบบภูมิคุ้มกัน และเซลล์เนื้อเยื่อต่างๆ ให้กลับมาทำงานได้อย่างเต็มประสิทธิภาพ โดยมีหลักการทำงานสำคัญของ EBOO Therapy ดังนี้

  • เพิ่มการไหลเวียนของเลือด EBOO Therapy ช่วยปรับปรุงการไหลเวียนของเลือดและเพิ่มการนำออกซิเจนไปยังเนื้อเยื่อต่างๆ ซึ่งเป็นประโยชน์ต่อระบบหลอดเลือด
  • ช่วยลดการอักเสบภายในหลอดเลือด การบำบัดด้วยโอโซนมีคุณสมบัติต้านการอักเสบ ช่วยลดอาการบวม ปวดและแดงที่เกิดจากการอักเสบซึ่งส่งผลดีต่อสุขภาพหลอดเลือด
  • การบำบัดด้วย EBOO ใช้ออกซิเจนและโอโซนในการฟอกเลือด จึงอาจช่วยกระตุ้นกระบวนการต้านอนุมูลอิสระในร่างกาย ซึ่งช่วยป้องกันความเสียหายของเซลล์และลดความเสี่ยงของโรคหลอดเลือด

EBOO Therapy สามารถป้องกันอาการลิ่มเลือดอุดตันได้จริงไหม

EBOO Therapy เป็นกระบวนการบำบัดเพื่อช่วยเติมออกซิเจนและโอโซนเข้าสู่เลือด พร้อมช่วยขจัดสิ่งสกปรกออกจากหลอดเลือด ซึ่งส่งผลดีต่อระบบไหลเวียนโลหิตและช่วยลดภาวะอักเสบ แต่อย่างไรก็ตาม EBOO Therapy ไม่ใช่วิธีรักษาหรือป้องกันอาการลิ่มเลือดอุดตันได้โดยตรง แต่เป็นทางเลือกเสริมที่เหมาะสำหรับผู้ที่ต้องการฟื้นฟูการทำงานของระบบไหลเวียนโลหิต รวมถึงผู้ที่เคยฉีดวัคซีนโควิด-19 มาก่อนหน้า ทั้งนี้การทำ EBOO Therapy ควรอยู่ภายใต้คำแนะนำของแพทย์ผู้ชำนาญการ เพื่อประเมินความเหมาะสมและความปลอดภัยตามสภาวะสุขภาพของแต่ละบุคคล

ใครเหมาะกับ EBOO Therapy?

  • ผู้ที่ต้องการฟื้นฟูร่างกายหลังฉีดวัคซีน หรือผู้ที่อยู่ในช่วงพักฟื้นหลังจากการติดเชื้อ COVID-19
  • ผู้ที่มีโรคเรื้อรัง เช่น โรคเบาหวาน ความดันโลหิตสูง โรคหัวใจและหลอดเลือด หรือโรคที่เกี่ยวข้องกับระบบไหลเวียนโลหิต
  • ผู้ที่มีภาวะเม็ดเลือดแดงเปราะบาง เช่น ผู้ป่วยโรคธาลัสซีเมีย หรือผู้ป่วย G6PD ที่ต้องการบำบัดร่างกายด้วยวิธีที่ปลอดภัย
  • ผู้ที่ไม่มีโรคประจำตัวแต่ต้องการดูแลสุขภาพในเชิงป้องกัน เพื่อส่งเสริมสุขภาพที่ดีได้ในระยะยาว

ข้อควรระวังและคำแนะนำก่อนตัดสินใจทำ EBOO Therapy

เพื่อความปลอดภัยและประสิทธิภาพหลังการบำบัดด้วย EBOO Therapy ผู้ที่สนใจควรพิจารณาและปฏิบัติตามคำแนะนำดังต่อไปนี้

  • กลุ่มที่ควรระมัดระวังหรือหลีกเลี่ยงการทำ EBOO Therapy ได้แก่ สตรีมีครรภ์ ผู้มีความผิดปกติของการแข็งตัวของเลือด (ควรแจ้งประวัติการรักษาให้แพทย์ทราบอย่างละเอียด) และผู้ที่มีภาวะแพ้โอโซน ทั้งนี้ผู้ที่สนใจเข้ารับบริการควรปรึกษาแพทย์และประเมินร่างกายอย่างละเอียดเพื่อประเมินความเสี่ยงก่อนเข้ารับการบำบัด
  • เลือกทำ EBOO Therapy กับคลินิกที่มีคุณภาพ ใช้เครื่อง EBOO ที่ได้มาตรฐานจากประเทศชั้นนำ สามารถควบคุมอัตราการเติมโอโซนเข้าสู่ร่างกายได้อย่างเสถียรและแม่นยำ เพื่อให้กระบวนการบำบัดมีประสิทธิภาพและปลอดภัยมากที่สุด
  • แพทย์ผู้บำบัดเป็นผู้ชำนาญการ มีประสบการณ์สูง เนื่องจากประสิทธิภาพของการบำบัดไม่ได้ขึ้นอยู่กับคุณภาพของเครื่อง EBOO เท่านั้น แต่ต้องอาศัยความชำนาญและประสบการณ์ของแพทย์ทั้งในขั้นตอนการตรวจประเมินร่างกาย การวางแผนการบำบัดด้วยการกำหนดเรทของ Gas และความเข้มข้นของ Ozone ที่ต้องใช้อย่างเหมาะสม รวมถึงการติดตามความสมดุลของเลือดทั้งขาออก-ขาเข้า ในระหว่างที่บำบัดอย่างใกล้ชิด เพื่อความปลอดภัยของผู้เข้ารับบำบัด

สรุป

EBOO Therapy นวัตกรรมทางเลือกเพื่อช่วยฟื้นฟูสุขภาพหลอดเลือด ทั้งในกลุ่มที่ต้องการดูแลสุขภาพเชิงป้องกัน ผู้ป่วยโรคเรื้อรัง โดยเฉพาะสำหรับผู้ที่กังวลเกี่ยวกับผลข้างเคียงหลังการฉีดวัคซีนโควิด-19 อย่างไรก็ตามการทำ EBOO Therapy ไม่สามารถรักษาภาวะ VITT ที่อาจเกิดขึ้นในผู้ที่ได้รับวัคซีนโควิด-19 บางราย จำเป็นต้องได้รับการประเมินสุขภาพร่างกายอย่างละเอียดก่อนเข้ารับการบำบัด และอยู่ภายใต้การดูแลของแพทย์ผู้ชำนาญการเท่านั้น LINNA Clinic (ลินนา คลินิก) เราพร้อมให้บริการบำบัดโอโซนด้วยเทคนิค EBOO PLUS Technique ดูแลทุกขั้นตอนการบำบัดอย่างใกล้ชิดโดยแพทย์ที่มีประสบการณ์มากกว่า 12 ปีและผ่านเการบำบัดจริงมาแล้วกว่า 20,000 เคส เหมาะสำหรับทุกกลุ่มทั้งผู้ที่ต้องการฟื้นฟูสุขภาพให้แข็งแรง ผู้ป่วยโรคเรื้อรัง ผู้ที่เคยติดเชื้อโควิด-19 หรือมีอาการผิดปกติหลังการฉีดวัคซีน สนใจสามารถนัดจองคิวแพทย์และปรึกษาลินนาคลินิกได้ที่เบอร์ 0919799554 หรือทางไลน์ @linnaclinic ได้เลยค่ะ  

Reference

Allas, G. D. O., Arizala, J. D. R., & Manalo, R. V. M. (2022). COVID-19 Adenoviral Vaccine-Induced Immune Thrombotic Thrombocytopenia (VITT), COVID-19-Related Thrombosis, and the Thrombotic Thrombocytopenic Syndromes. Hematology Reports, 14(4), 358–372. https://doi.org/10.3390/hematolrep14040050

บทความที่เกี่ยวข้อง

Scroll to Top