“เบาหวาน” หนึ่งในโรคเรื้อรังที่ส่งผลกระทบต่อสุขภาพของผู้คนทั่วโลกรวมถึงประเทศไทยซึ่งในปัจจุบันมีผู้ป่วยโรคเบาหวานสะสมมากกว่า 3.3 ล้านคน และพบจำนวนผู้ป่วยเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องในทุกช่วงอายุ ผู้ป่วยเบาหวานในระยะเริ่มต้นอาจไม่มีอาการที่สังเกตได้ชัดเจนในทันที แต่หากปล่อยไว้โดยไม่ดูแลอย่างเหมาะสมอาจทำให้เกิดภาวะแทรกซ้อนรุนแรงอื่นๆ ตามา เช่น โรคหัวใจ โรคไตและปัญหาเกี่ยวกับการมองเห็น อย่างไรก็ตามมีวิธีดูแลและฟื้นฟูร่างกายสำหรับผู้ป่วยเบาหวาน เพื่อช่วยให้ผู้ป่วยสามารถกลับมาดำเนินชีวิตประจำวันได้อย่างปกติและมีคุณภาพชีวิตที่ดียิ่งขึ้น
Table of Contents
เบาหวาน คืออะไร มีกี่ระยะ?
เบาหวาน (Diabetes) คือ โรคที่เกิดจากความผิดปกติในการควบคุมระดับน้ำตาลในเลือด เนื่องจากร่างกายไม่สามารถผลิตหรือใช้งานฮอร์โมนอินซูลิน (Insulin) ได้อย่างเหมาะสม ซึ่งฮอร์โมนอินซูลินมีหน้าที่ช่วยให้เซลล์ดูดซึมน้ำตาลที่อยู่ในเลือดเพื่อนำไปใช้เป็นแหล่งพลังงานและเลี้ยงอวัยวะต่างๆ ของร่างกาย ส่งผลให้เกิดภาวะน้ำตาลในเลือดสูง (Hyperglycemia) ซึ่งเป็นปัจจัยสำคัญที่นำไปสู่การเกิดโรคเบาหวานโดยสามารถแบ่งออกได้เป็น 3 ระยะตามความรุนแรงของอาการ ดังนี้
- ระยะก่อนเบาหวาน เป็นระยะที่มีระดับน้ำตาลในเลือดสูงกว่าปกติแต่ยังไม่ถึงเกณฑ์วินิจฉัยว่าเป็นเบาหวาน ในระยะนี้จะไม่มีอาการผิดปกติที่สังเกตเห็นได้อย่างชัดเจนแต่อาจมีสัญญาณเตือนบางอย่างจากร่างกายเกี่ยวกับการควบคุมระดับน้ำตาลในเลือด เช่น หิวบ่อย กระหายน้ำ ปัสสาวะบ่อย อ่อนเพลีย ฯลฯ
- ระยะเบาหวาน เป็นระยะที่มีระดับน้ำตาลในเลือดมากกว่าหรือเท่ากับ 126 มิลลิกรัมต่อเดซิลิตร ซึ่งวินิจฉัยว่าเป็นเบาหวาน โดยสามารถแบ่งออกเป็น 4 ชนิดหลักๆ ได้แก่
- เบาหวานชนิดที่ 1 เกิดจากตับอ่อนไม่สามารถผลิตอินซูลิน ร่างกายจึงไม่สามารถดึงน้ำตาลไปใช้งานได้และต้องฉีดอินซูลินอย่างสม่ำเสมอ ส่วนใหญ่มักพบในคนที่มีรูปร่างผอม
- เบาหวานชนิดที่ 2 พบได้มากถึงร้อยละ 95 ของผู้ป่วยเบาหวานโดยเฉพาะอย่างยิ่งในผู้ใหญ่และผู้สูงอายุ เกิดจากร่างกายผลิตฮอร์โมนอินซูลินน้อยลงร่วมกับภาวะดื้ออินซูลิน (Insulin Resistance) สามารถดูแลอาการให้ดีขึ้นได้ด้วยการใช้ยารักษาเบาหวานและปรับพฤติกรรมให้เหมาะสม และจำเป็นต้องฉีดอินซูลินในกลุ่มที่ควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดได้ไม่ดี
- เบาหวานขณะตั้งครรภ์ เกิดขึ้นในหญิงตั้งครรภ์ที่ไม่เคยมีเบาหวานมาก่อน และมักตรวจพบในระหว่างการตั้งครรภ์ช่วงไตรมาสที่ 2-3 เนื่องจากมีภาวะดื้ออินซูลินเนื่องจากฮอร์โมนที่หลั่งมาจากรก ส่วนใหญ่สามารถหายได้เองหลังการคลอดบุตร
- เบาหวานที่มีสาเหตุจำเพาะ เช่น ระดับฮอร์โมนผิดปกติ เบาหวานที่เกิดจากความผิดปกติทางพันธุกรรม โรคตับอ่อน รวมถึงการใช้ยาหรือสารเคมีบางชนิด
- ระยะเบาหวานที่มีภาวะแทรกซ้อน หากผู้ป่วยเบาหวานขาดการดูแลรักษาอย่างเหมาะสม จนทำให้ระดับน้ำตาลในเลือดสูงต่อเนื่องเป็นเวลานาน อาจนำไปสู่ภาวะแทรกซ้อนที่เป็นอันตรายต่ออวัยวะสำคัญในร่างกาย เช่น เบาหวานขึ้นตา โรคหัวใจและหลอดเลือด โรคหลอดเลือดแดงส่วนปลายตีบ โรคไตจากเบาหวาน และอาจรุนแรงถึงขั้นทำให้เสียชีวิต
สาเหตุและปัจจัยเสี่ยงที่ทำให้เกิดโรคเบาหวาน
โรคเบาหวานเกิดจากความผิดปกติของฮอร์โมนอินซูลินซึ่งทำหน้าที่ควบคุมระดับน้ำตาลในเลือด โดยมีสาเหตุและปัจจัยเสี่ยงที่ทำให้เกิดโรคได้ดังนี้
- พันธุกรรมและประวัติคนในครอบครัว เบาหวานเป็นโรคที่มีความเกี่ยวข้องกับพันธุกรรม หากพ่อและแม่ทั้งสองฝ่ายเป็นเบาหวาน ลูกจะมีความเสี่ยงต่อการเป็นเบาหวานสูงถึง 60%
- อายุที่เพิ่มขึ้น โดยเฉพาะในผู้ที่มีอายุมากกว่า 40 ปี เนื่องจากร่างกายตอบสนองต่ออินซูลินน้อยลง
- ภาวะอ้วนลงพุง รวมถึงผู้ที่มีภาวะไขมันในเลือดสูงและความดันโลหิตสูง
- ผู้ที่เคยมีประวัติเป็นเบาหวานขณะตั้งครรภ์ โดยเฉพาะอย่างยิ่งกลุ่มคุณแม่ตั้งครรภ์ที่มีอายุ 30 ปีขึ้นไปและมีภาวะน้ำหนักตัวเกินร่วมด้วย
- พฤติกรรมการใช้ชีวิตที่ไม่เหมาะสม เช่น การรับประทานอาหารและเครื่องดื่มที่มีแคลอรีสูง การสูบบุหรี่และดื่มแอลกอฮอล์ การขาดการออกกำลังกาย ความเครียดสะสมรวมถึงการนอนหลับพักผ่อนไม่เพียงพอ
- การใช้ยาหรือสารเคมีบางชนิด เช่น ยาคอร์ติโคสเตียรอยด์ หรือยาต้านไวรัสบางชนิดที่อาจส่งผลกระทบต่อการควบคุมระดับน้ำตาลในเลือด
เบาหวาน หายได้ไหม? ทำอย่างไรให้หายจากการเป็นเบาหวาน
ในปัจจุบันยังไม่มีการรักษาใดๆ ที่สามารถรักษาเบาหวานให้หายขาด แต่ผู้ป่วยสามารถใช้วิธีต่างๆ เพื่อควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดให้อยู่ในเกณฑ์ปกติและช่วยลดความเสี่ยงต่อการเกิดภาวะแทรกซ้อนของโรค โดยเฉพาะโรคเบาหวานชนิดที่ 2 ซึ่งเกิดจากร่างกายผลิตฮอร์โมนอินซูลินน้อยลงร่วมกับภาวะดื้ออินซูลิน ที่สามารถรักษาอาการให้ดีขึ้นได้จนเข้าสู่ระยะสงบ (Diabetes Remission) ด้วยการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพอย่างเหมาะสม
วิธีดูแลตัวเองของผู้ป่วยเบาหวาน เพื่อควบคุมอาการให้อยู่ในเกณฑ์ปกติ
ถึงแม้ว่าโรคเบาหวานเป็นโรคเรื้อรังที่อาจส่งผลอันตรายต่อสุขภาพ แต่อย่างไรก็ตามผู้ป่วยสามารถดูแลตัวเองและควบคุมอาการของโรคให้อยู่ในเกณฑ์ปกติเพื่อช่วยป้องกันภาวะแทรกซ้อนในระยะยาว และทำให้ผู้ป่วยสามารถดำเนินชีวิตประจำวันได้ตามปกติ ดังนี้
- ปรับพฤติกรรมการรับประทานอาหารให้เหมาะสม รับประทานอาหารที่มีดัชนีน้ำตาลต่ำ (Low Glycemic Index) เช่น ธัญพืชเต็มเมล็ด ผักใบเขียว และผลไม้ที่มีน้ำตาลน้อย เน้นโปรตีนคุณภาพสูงที่ไม่ติดมัน หลีกเลี่ยงอาหารและเครื่องดื่มที่มีแคลอรีสูงแต่มีคุณค่าทางโภชนาการต่ำ และควรรับประทานอาหารให้ครบทั้ง 3 มื้อ
- หมั่นติดตามระดับน้ำตาลในเลือด ในกลุ่มผู้ป่วยเบาหวานควรตรวจวัดระดับน้ำตาลสะสม (HbA1c) อย่างน้อย 2-4 ครั้ง/ปี เพื่อประเมินประสิทธิภาพในการควบคุมโรคและปรับแผนการรักษาให้เหมาะสม
- ใช้ยาตามแพทย์สั่ง ไม่ปรับลดหรือหยุดยาเอง รวมถึงควรเข้าพบแพทย์ตามกำหนดนัดทุกครั้ง
- ออกกำลังกายสม่ำเสมอ อย่างน้อย 150 นาที/สัปดาห์ เพื่อช่วยควบคุมน้ำหนักตัวให้อยู่ในเกณฑ์ปกติและกระตุ้นให้ร่างกายตอบสนองต่อฮอร์โมนอินซูลินได้ดีขึ้น
- นอนหลับพักผ่อนอย่างน้อย 7-8 ชั่วโมงต่อวัน และจัดการความเครียดอย่างเหมาะสม เพื่อช่วยให้ควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดได้ดีขึ้น
- หลีกเลี่ยงพฤติกรรมที่กระตุ้นอาการเบาหวาน งดสูบบุหรี่และงดดื่มแอลกอฮอล์ การใช้ยาหรืออาหารเสริมบางชนิด
โปรแกรมฟื้นฟูโรคเบาหวาน ที่ LINNA Wellness
LINNA Wellness ขอแนะนำโปรแกรม Ozone Therapy (EBOO PLUS Technique) นวัตกรรมการฟื้นฟูสุขภาพสำหรับผู้ป่วยเบาหวาน ทางเลือกใหม่ของการฟื้นฟูและลดภาวะแทรกซ้อนของผู้ป่วยเบาหวานได้อย่างมีประสิทธิภาพ ลดการพึ่งพายา ด้วยการเติมโอโซนบริสุทธิ์เข้าสู่เส้นเลือดเพื่อกระตุ้นการทำงานของเซลล์เม็ดเลือด ฟื้นฟูหลอดเลือดที่อักเสบ เสริมสร้างระบบภูมิคุ้มกันและช่วยให้ระบบต่างๆ ในร่างกายกลับมาทำงานอย่างสมดุล ด้วยเครื่องมือมาตรฐานระดับสากลพร้อมระบบควบคุมโอโซนที่เหมาะสมสำหรับผู้ป่วยแต่ละรายบุคคล ภายใต้การดูแลอย่างใกล้ชิดของอาจารย์แพทย์ที่มีประสบการณ์ด้านการทำ Ozone Therapy (EBOO PLUS Technique) มากกว่า 12 ปี และผ่านเคสการดูแลผู้ป่วยมาแล้วกว่า 20,000 ราย สนใจฟื้นฟูร่างกายจากภาวะเบาหวานได้อย่างปลอดภัยและมีประสิทธิภาพ สามารถติดต่อ LINNA Clinic เพื่อรับการประเมินและวางแผนการฟื้นฟูสุขภาพได้ที่ไลน์ @linnaclinic หรือโทร 063-609-8888