8 ข้อควรรู้ก่อนฉีดโบท็อก (Botox)

การฉีดโบท็อกเป็นวิธีการรักษาที่ได้รับความนิยมอย่างมากในปัจจุบัน เพราะทำได้ง่ายและไว และมีผลลัพธ์ที่ชัดเจน ทั้งนี้หมอขอมาอธิบายรายละเอียดและข้อดีข้อเสียที่แตกต่างกันออกไปดังนี้ค่ะ

Table of Contents

1. ข้อดี ข้อเสีย และผลข้างเคียงที่อาจเกิดขึ้นจากการฉีดโบท็อก (Botox)

ข้อดีของโบท็อก (Botox)

ช่วยลดเลือนริ้วรอยที่เกิดจากการแสดงสีหน้า เช่น รอยย่นหน้าผาก รอยระหว่างคิ้ว หางตา และรอยตีนกา

ปรับรูปหน้าให้เรียวขึ้น โดยทำให้กล้ามเนื้อมัดกรามมีขนาดเล็กลง กรอบหน้าดูชัดเจน

สามารถใช้ยกกระชับกรอบหน้าได้ ทำให้กรอบชัดและผิวยกกระชับ

ช่วยให้หน้าใสขึ้นด้วยการกระตุ้นการสร้างคอลลาเจนได้ชั้นผิวได้

ช่วยกระชับรูขุมขนได้ดี

ช่วยลดภาวะเหงื่อออกมากเกินปกติ ตามรักแร้ มือ เท้า ได้ ลดกลิ่นตัวที่มาจากความอับชื้น

ช่วยเรื่อง Office Syndrome กล้ามเนื้อคอแข็ง ได้

สามารถทำได้โดยไม่ต้องพักฟื้น

เห็นผลได้อย่างรวดเร็ว

ข้อเสียของโบท็อก (Botox)

ไม่ใช่การรักษาที่ถาวร ควรทำต่อเนื่อง 4-6 เดือนขึ้นไปสามารถย้ำได้

อาจเกิดผลข้างเคียงได้ เช่น อาการบวม แดง ช้ำ บริเวณที่ฉีดปวดศีรษะ ตาพร่า มึนงง ในบางราย

หากฉีดถี่เกินไป หรือเปลี่ยนยี่ห้อไปมา อาจทำให้ดื้อโบได้

ผลข้างเคียงที่อาจเกิดขึ้นจากการฉีดโบท็อก (Botox) ซึ่งอาจเกิดขึ้นได้ในคนไข้บางรายค่ะ

อาการบวม แดง ช้ำ บริเวณที่ฉีด มักเป็นอาการปกติและจะค่อยๆดีขึ้นภายใน 1-2 วัน

ปวดศีรษะ ตาพร่า มึนงง 

กลืนลำบาก

กล้ามเนื้ออ่อนแรงบริเวณที่ฉีด 

และหากฉีดกับแพทย์ที่ไม่มีความชำนาญอาจ ตาตก ปากเบี้ยว ยิ้มไม่สมมาตร ได้ แต่อาการจะไม่อยู่ถาวร จะค่อยๆดีขึ้นเองใน 1 เดือน ทั้งนี้หากเกิดขึ้นกับท่านใด ควรรีบแจ้งแพทย์ที่ทำการรักษาให้ช่วยแก้ไขให้ทันท่วงที

2.ความสำคัญของการปรึกษาแพทย์เพื่อประเมินสภาพผิวก่อนฉีดโบท็อก (Botox)

การปรึกษาแพทย์เพื่อวิเคราะห์ใบหน้า และปัญหาใบหน้า เพื่อประเมินสภาพผิวก่อนฉีดโบท็อกมีความสำคัญมากดังนี้

เพื่อความปลอดภัย แพทย์ผู้เชี่ยวชาญจะสามารถประเมินสภาพผิวและสุขภาพโดยรวมของคนไข้ เพื่อประเมินว่าคนไข้เหมาะสมกับการฉีดโบท็อก (Botox) หรือไม่ หากคนไข้มีโรคประจำตัวบางชนิด เช่น โรคกล้ามเนื้ออ่อนแรง โรคมะเร็งโรคหอบหืด โรคภูมิแพ้ขั้นรุนแรง โรคระบบประสาท กำลังตั้งครรภ์ หรือให้นมบุตร แพทย์อาจพิจารณาไม่ฉีดโบท็อก(Botox) ให้กับคนไข้

เพื่อผลลัพธ์ที่ดี แพทย์ผู้เชี่ยวชาญจะสามารถออกแบบการรักษาที่เหมาะสมกับความต้องการและสภาพผิวของคนไข้เพื่อให้ได้ผลลัพธ์ที่ดีและปลอดภัย แพทย์จะคำนึงถึงปัจจัยต่าง ๆ เช่น ตำแหน่งที่ฉีด ปริมาณโบท็อก (Botox)ที่ใช้เทคนิคการฉีด และการดูแลตัวเองหลังฉีด

เพื่อลดความเสี่ยงจากผลข้างเคียง การปรึกษาแพทย์จะช่วยให้คนไข้เข้าใจถึงผลข้างเคียงที่อาจเกิดขึ้นจากการฉีดโบท็อก(Botox) และสามารถเตรียมรับมือได้อย่างเหมาะสม หากคนไข้มีอาการผิดปกติหลังฉีด ก็สามารถแจ้งให้แพทย์ทราบได้ทันที

3.ฉีดโบท็อก (Botox) ส่วนไหนได้บ้าง

โบท็อก (Botox) สามารถฉีดได้หลายส่วนบนใบหน้าและร่างกายขึ้นอยู่กับความต้องการและปัญหาที่อยากแก้ไข โดยจุดที่นิยมฉีดหมอขอชี้แจงตามวัตถุประสงค์ดังนี้ค่ะ

สำหรับลดริ้วรอย

หน้าผาก: ลดริ้วรอยแนวเส้นตรงระหว่างคิ้ว

ระหว่างคิ้ว: ลดริ้วรอยรูปตัว 11 ที่เกิดจากการขมวดคิ้ว

หางตา: ลดริ้วรอยตีนกา

ใต้ตา: ลดริ้วรอยใต้ตา

คอ: ลดริ้วรอยแนวนอนบริเวณคอ (Horizontal neck bands)

สำหรับปรับรูปหน้า

กราม: ลดกราม ทำให้หน้าเรียวขึ้น

ปีกจมูก: ปรับรูปทรงจมูกให้ดูแคบลง

สันจมูก: ทำให้สันดูชัดขึ้น

กรอบหน้าและคอ: เพื่อยกกระชับ

คาง: เพื่อให้มุมปากไม่ตก

สำหรับงานผิว

หน้าแก้ม: เพื่อกระชับรูขุมขน ทำให้หน้าใสขึ้นได้

สำหรับบริเวณอื่นๆ

 รักแร้: ลดเหงื่อใต้รักแร้

ฝ่ามือ: ลดเหงื่อที่ฝ่ามือ

ฝ่าเท้า: ลดเหงื่อที่ฝ่าเท้า

กล้ามเนื้อคอ บ่า ไหล่: ช่วยลดอาการปวดศีรษะจาก Office Syndrome

กล้ามเนื้อตา: ช่วยแก้ไขอาการตาเหล่

4.เครื่องดื่มที่ควรงดหลังฉีดโบท็อก (Botox)

1. เครื่องดื่มแอลกอฮอล์

แอลกอฮอล์มีฤทธิ์ขยายหลอดเลือด ซึ่งอาจเพิ่มการกระจายตัวของโบท็อก (Botox) ทำให้ออกฤทธิ์ได้ไม่เต็มที่ ผลลัพธ์อยู่ได้ไม่นานเท่าที่ควร อีกทั้งแอลกอฮอล์อาจเพิ่มความเสี่ยงต่อบวม แดง ช้ำ บริเวณที่ฉีด

2. เครื่องดื่มคาเฟอีน

คาเฟอีนมีฤทธิ์กระตุ้นระบบประสาท อาจส่งผลต่อกล้ามเนื้อบริเวณที่ฉีดโบท็อก (Botox) ทำให้ผลลัพธ์ไม่ชัดเจน หมอขอแนะนำให้ปรับเป็นเครื่องดื่มที่ไม่มีคาเฟอีน เช่น น้ำเปล่า ชาสมุนไพร เป็นต้น

3. เครื่องดื่มชูกำลัง

เครื่องดื่มชูกำลังมีส่วนผสมของคาเฟอีนและสารกระตุ้นอื่นๆส่งผลต่อระบบประสาทและกล้ามเนื้อเช่นเดียวกับกาแฟแนะนำให้เลือกเครื่องดื่มที่ไม่มีส่วนผสมเหล่านี้

ระยะเวลาที่ควรหยุดเครื่องดื่มเหล่านี้

โดยทั่วไปแนะนำให้งดดื่มแอลกอฮอล์ 24-48 ชั่วโมงหลังฉีดโบท็อก (Botox) หรือให้ดีที่สุด 1-2 อาทิตย์หลังฉีด เพื่อให้โบท็อกได้ทำงานเต็มที่ แต่หากเลี่ยงไม่ได้จริงๆ ก็อาจต้องยอมรับว่าผลลัพธ์อาจอยู่ได้สั้นลง

สำหรับเครื่องดื่มคาเฟอีน เครื่องดื่มร้อน เครื่องดื่มชูกำลัง และเครื่องดื่มน้ำตาลสูง สามารถปรับลดปริมาณหรือหยุดชั่วคราว 2-3 วันแรกหลังฉีดโบท็อก (Botox)

5.การหลีกเลี่ยงการโดนความร้อนบริเวณที่ฉีดโบท็อก (Botox)

การเข้า Sauna/ Steam หรือโยคะร้อน ความร้อนอาจส่งผลเสียต่อผลลัพธ์และเพิ่มความเสี่ยงต่อผลข้างเคียงได้ ดังนี้

ทำให้โบท็อก (Botox) ออกฤทธิ์ได้ไม่เต็มที่ ความร้อนอาจเพิ่มการกระจายตัวของโบท็อก (Botox) ทำให้เกิดการกระจายตัวไปยังบริเวณที่ไม่ต้องการ ส่งผลให้ผลลัพธ์ไม่ชัดเจนหรืออาจทำให้เกิดผลข้างเคียง เช่น ปากเบี้ยว

เพิ่มความเสี่ยงต่ออาการบวม แดง ช้ำ ความร้อนอาจกระตุ้นการไหลเวียนเลือดบริเวณที่ฉีด ทำให้เลือดมาเลี้ยงบริเวณนั้นมากขึ้น ส่งผลให้อาการบวม แดง ช้ำ นานขึ้นหรือรุนแรงขึ้น

ดังนั้น หลังฉีดโบท็อก (Botox) ควรหลีกเลี่ยงการโดนความร้อนบริเวณที่ฉีดเป็นเวลาอย่างน้อย 2-4 สัปดาห์ค่ะ

6.งดการนวดหน้า กดจุด หรือนอนคว่ำหน้า บริเวณที่ฉีดโบท็อก (Botox)

งดการนวดหน้าและกดจุดบริเวณที่ฉีดโบท็อก (Botox) มีความสำคัญอย่างยิ่ง โดยเฉพาะในช่วง 24-48 ชั่วโมงแรกหลังการฉีดรวมถึงการนอนคว่ำภายใน 3 ชั่วโมงแรก มีความเสี่ยง หมอขออธิบายเหตุผลดังนี้ค่ะ

1. ป้องกันการกระจายของโบท็อก (Botox): การนอนคว่ำใน 3 ชั่วโมงแรกอาจกดทับบริเวณที่ฉีดโบ รวมถึงการนวดหน้าหรือกดจุดสามารถทำให้โบท็อกที่ฉีดเข้าไปกระจายออกไปจากตำแหนกเป้าหมายไปยังบริเวณใกล้เคียงได้ ส่งผลให้ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นไม่ตรงตามที่ต้องการ เช่น เกิดริ้วรอยใหม่ในบริเวณที่ไม่เคยมีมาก่อน หรือตาตก ปากเบี้ยวได้

2. ลดความเสี่ยงต่อผลข้างเคียง: การกระตุ้นบริเวณที่ฉีดอาจทำให้เกิดรอยช้ำ บวม หรืออาการระคายเคืองได้มากขึ้น

3. ช่วยให้โบท็อก (Botox) ออกฤทธิ์ได้อย่างมีประสิทธิภาพ: การปล่อยให้โบท็อกที่ฉีดไปไม่โดนการรบกวน ช่วยให้โบท็อก(Botox) เข้าสู่ปลายประสาทและออกฤทธิ์ได้อย่างเหมาะสม ส่งผลให้เห็นผลลัพธ์ที่ชัดเจน

7.การออกกำลังกายหลังการฉีดโบทอก (Botox)

หลังจากฉีดโบท็อก การออกกำลังกายโดยทั่วไปสามารถทำได้แต่มีข้อควรระวังและช่วงเวลาที่เหมาะสมดังนี้ค่ะ

ช่วงเวลาที่ควรเว้นการออกกำลังกาย

4 ชั่วโมงแรกหลังฉีด: ไม่ควรออกกำลังกายอย่างหนักและการเล่นโยคะหลังฉีด 4 ชั่วโมง เพื่อลดความเสี่ยงโบท็อกกระจายออกจากตำแหน่งเป้าหมาย

24-48 ชั่วโมงแรกหลังฉีด: ต้องระวังการขยับใบหน้ามากเกินไป ควรหลีกเลี่ยงกิจกรรมหนักๆ ที่ทำให้หัวใจเต้นเร็ว เลือดสูบฉีดแรง เช่น วิ่ง ปั่นจักรยาน ว่ายน้ำ

กิจกรรมที่ควรระวังหลังฉีดโบท็อก (Botox)

กิจกรรมที่ทำให้ความร้อนขึ้นมากๆ: งดซาวน่า สปา โยคะร้อนเข้าฟิตเนสที่อากาศร้อน เนื่องจากความร้อนอาจทำให้ผลลัพธ์ของโบท็อกอยู่ได้สั้นลง

กิจกรรมที่เสี่ยงโดนกระแทกใบหน้า: ควรงดกีฬาที่มีโอกาสโดนใบหน้า เช่น มวย เทควันโด บาสเก็ตบอล เป็นต้น

ทั้งนี้หลังจากครบ 48 ชั่วโมงที่ฉีดโบท็อก (Botox) ไปแล้ว สามารถกลับมาทำกิจกรรมบางอย่างได้นะคะ เช่น

เริ่มกลับมาออกกำลังกายได้ แต่ยังควรหลีกเลี่ยงกิจกรรมหนักๆ ในช่วง 1-2 สัปดาห์แรก

ออกกำลังกายเบาๆ เน้นยืดเหยียด ประเภทเดิน ว่ายน้ำ ปั่นจักรยานช้าๆ หรือโยคะเบาๆ

8.การดื้อยาจากการเปลี่ยนแบรนด์โบท็อก(Botox) บ่อย

ภาวะดื้อโบท็อก (Botox resistance) อาจเกิดขึ้นได้จากการเปลี่ยนแบรนด์บ่อย

โบท็อก (Botox) ต่างแบรนด์ มีสารออกฤทธิ์หลักเหมือนกัน คือBotulinum toxin แต่ความบริสุทธิไม่เท่ากัน การได้รับโบท็อกที่บริสุทธ์น้อย อาจทำให้ร่างกายสร้างภูมิคุ้มกันและส่งผลให้ดื้อโบในที่สุด

การเปลี่ยนแบรนด์อาจช่วยให้เห็นผลลัพธ์ดีขึ้นชั่วคราวเนื่องจากภูมิคุ้มกันยังจำไม่ได้แม่นยำ แต่สุดท้ายก็อาจนำไปสู่การดื้อโบท็อก (Botox) อยู่ดี

ทั้งนี้ การดื้อโบท็อก (Botox) อาจเกิดจากหลายปัจจัย ไม่ใช่แค่เกิดจากการเปลี่ยนแบรนด์เพียงอย่างเดียว สามารถเกิดจากการฉีดที่ถี่เกินไป หรือ สภาพร่างกายของแต่ละบุคคล ควรเลือกฉีดโดยคลินิกแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ ศึกษาข้อมูลก่อนตัดสินใจฉีดโบท็อก ปฏิบัติตามคำแนะนำ และหากมีข้อสงสัยควรปรึกษาแพทย์ค่ะ

บทความที่เกี่ยวข้อง

Scroll to Top