การดื้อโบท็อก (Botox) คืออะไร

การดื้อโบท็อก (Botox resistance) เป็นภาวะที่ร่างกายของเราสร้างภูมิคุ้มกัน (Antibody) ออกมาทำลายยาโบท็อก (Botox) เพราะถูกมองว่าเป็นสารแปลกปลอมที่เข้ามาในร่างกาย  ทำให้ตัวยาถูกทำลายและไม่ออกฤทธิ์ เป็นปรากฏการณ์ที่คนไข้ได้รับผลลัพธ์จากการฉีดโบท็อก (Botox) ลดลง หรือแทบไม่มีผลเลย  โดยปกติแล้วโบท็อก (Botox) จะออกฤทธิ์ได้ประมาณ 4-6 เดือน แต่ในบางคนอาจมีผลลัพธ์อยู่ได้เพียง 1-2 เดือนเท่านั้น

Table of Contents

อาการของการดื้อโบท็อก

อาการดื้อโบท็อก (Botox resistance) สามารถแบ่งออกเป็น 3 ระดับหลักๆ ตามลักษณะอาการที่สังเกตได้ ดังนี้ค่ะ

ระดับที่ 1 : ผลลัพธ์ที่ได้ไม่เป็นเหมือนเดิม จากที่ปกติเคยฉีดโบท็อก (Botox) ในปริมาณเท่าเดิม ก็สามารถลดริ้วรอยได้ แต่เมื่อมีภาวะดื้อโบท็อก (Botox) ผลลัพธ์ที่ได้กลับไม่เป็นเหมือนเดิม อาจลดริ้วรอยได้น้อยลง หรือริ้วรอยกลับมาเร็วขึ้น

ระดับที่ 2 : ต้องใช้ปริมาณโบท็อก (Botox) ที่มากขึ้น จากที่ปกติเคยฉีดโบท็อก (Botox) ในปริมาณเท่าเดิม ก็ต้องใช้ปริมาณโบท็อก (Botox) ที่มากขึ้นเพื่อให้สามารถลดริ้วรอยได้อย่างเห็นผล

ระดับที่ 3 : แม้เพิ่มปริมาณโบท็อก (Botox) ที่มากขึ้น ก็ไม่เห็นการเปลี่ยนแปลง การลดริ้วรอยหรือปรับรูปหน้าไม่เกิดผลหลังการรักษา

อาการดื้อโบท็อก (Botox resistance) เกิดจากร่างกายสร้างภูมิคุ้มกันต่อโบท็อก ซึ่งโบท็อกเป็นโปรตีนชนิดหนึ่ง เมื่อฉีดเข้าสู่ร่างกายจะกระตุ้นให้ร่างกายสร้างภูมิคุ้มกันขึ้นมา เพื่อต่อต้านสิ่งแปลกปลอม จึงทำให้โบท็อกออกฤทธิ์ได้น้อยลงหรือไม่ได้ออกฤทธิ์เลย

การดื้อโบท็อก (Botox resistance) เกิดกับใครได้บ้างและเกิดจากปัจจัยใด

หมอขออธิบายว่าการดื้อโบท็อก (Botox resistance) นั้นสามารถเกิดขึ้นกับใครก็ได้ ไม่มีกลุ่มคนใดที่ปลอดภัยจากภาวะนี้โดยสิ้นเชิงค่ะ  อย่างไรก็ตาม มีบางกลุ่มคนที่มีความเสี่ยงสูงต่อการดื้อโบท็อก (Botox) มากกว่าคนอื่น ๆ ได้แก่

  • ผู้ที่ฉีดโบท็อก (Botox) ปริมาณมากในแต่ละครั้ง: การใช้โบท็อกในปริมาณมากเกินไปในแต่ละครั้ง อาจทำให้กล้ามเนื้อเคยชินกับการทำงานน้อยลง ส่งผลให้ผลลัพธ์ลดลงในครั้งต่อ ๆ ไป
  • ผู้ที่มีระบบภูมิคุ้มกันไว:  คนที่ระบบภูมิคุ้มกันไว มีแนวโน้มที่จะสร้างภูมิต่อโบท็อก (Botox) ได้เร็วกว่า ทำให้ผลลัพธ์อยู่ได้ไม่นาน
  • ผู้ที่มีประวัติการแพ้ยา: คนที่มีประวัติการแพ้ยา โดยเฉพาะยาจำพวกโปรตีน มีโอกาสที่จะสร้างภูมิคุ้มกันต่อโบท็อก (Botox) ซึ่งถือเป็นโปรตีนชนิดหนึ่ง ได้ง่ายกว่าคนทั่วไป
  • ผู้สูงอายุ: เนื่องจากระบบเผาผลาญและการกำจัดสารต่าง ๆ ภายในร่างกายทำงานช้าลงในผู้สูงอายุ ทำให้โบท็อก (Botox) อาจอยู่ได้นานกว่าคนทั่วไป แต่ในขณะเดียวกันก็อาจทำให้ร่างกายสร้างภูมิคุ้มกันต่อโบท็อก (Botox) ได้ง่ายขึ้นในระยะยาว
  • ผู้ที่มีพันธุกรรมบางชนิด: มีงานวิจัยบางชิ้นที่ชี้ว่า  พันธุกรรมอาจมีบทบาทในการกำหนดอัตราการกำจัดโบท็อก (Botox) ออกจากร่างกาย คนที่มีพันธุกรรมบางชนิดอาจกำจัดโบท็อก (Botox)ออกจากร่างกายเร็วกว่าปกติ ส่งผลให้ผลลัพธ์อยู่ได้ไม่นาน

รู้ได้อย่างไรว่าเรามีภาวะดื้อโบท็อก

1 .สังเกตอาการตัวเองหลังฉีดโบท็อก (Botox) เช่น ระยะเวลาในการออกฤทธิ์ยาของโบท็อก (Botox) น้อยลง เช่น จากเดิม 6 เดือน เหลือ 3 เดือนและลดลงเรื่อย ๆ  จนในที่สุดการฉีดโบท็อก (Botox) ไม่ได้ผลอีกต่อไป หรืออาจไม่ได้ผลลัพธ์ตามที่คาดหวังไว้ (เช่น ริ้วรอยไม่หาย ขนาดกรามไม่ลดลง)

2. สามารถทำการทดสอบได้โดยให้แพทย์ฉีดหน้าผากหรือจุดที่มีริ้วรอยเพียงฝั่งเดียว (Frontalis test) และรอดูผลลัพธ์หลังจากนั้นอีก 2 สัปดาห์ หากริ้วรอยไม่หายไปแสดงว่ามีภาวะดื้อโบท็อก (Botox resistance)

3.ส่งผลเลือดตรวจซึ่งมี 2 Test คือ

Test 1 สำหรับตรวจดูว่าคนไข้มีความเสี่ยงดื้อโบท็อก (Botox resistance) ไหม

Test 2 สำหรับตรวจคนไข้ที่ดื้อนั้นว่ายังสามารถตอบสนองต่อ Pure toxin ได้หรือไม่ โดยตรวจหาภูมิคุ้นกัน (Antibody) ต่อ complexing protein ในเลือดคนไข้

วิธีแก้ไขสำหรับอาการดื้อโบท็อก (Botox resistance)

การแก้ปัญหาอาการดื้อโบท็อก(Botox resistance) ขึ้นอยู่กับความรุนแรงและสาเหตุ แต่อย่างไรก็ตาม ควรปรึกษาแพทย์เฉพาะทางด้านผิวหนังหรือเวชศาสตร์ความงามเพื่อประเมินสถานการณ์และวางแผนการรักษาที่เหมาะสม โดยวิธีแก้ไขเบื้องต้นมีดังนี้:

1. หยุดใช้โบท็อก (Botox) ชั่วคราว: โดยทั่วไป แพทย์อาจแนะนำให้หยุดใช้โบท็อกเป็นระยะเวลา 6-12 เดือน เพื่อให้ร่างกายมีเวลาในการกำจัดภูมิคุ้มกันต่อโบท็อก (Botox) วิธีนี้เหมาะสำหรับผู้ที่มีอาการดื้อโบท็อก (Botox) ระดับเบา

2. ปรับเทคนิคการฉีด: แพทย์อาจปรับเทคนิคการฉีดโบท็อก (Botox) เช่น เปลี่ยนตำแหน่งการฉีด หรือเพิ่มปริมาณของโบท็อก (Botox) ขึ้นอยู่กับกรณี

3. ใช้โบท็อก (Botox) ชนิดอื่น: โบท็อก (Botox) มีหลายยี่ห้อ หากผู้ป่วยดื้อต่อโบท็อก (Botox resistance) ยี่ห้อใด ยี่ห้ออื่นอาจยังคงออกฤทธิ์ได้ดี แพทย์จะทดลองใช้ยี่ห้ออื่นๆ เพื่อดูผลลัพธ์

4. ใช้สารเติมเต็มร่วมกับโบท็อก (Botox): ในบางกรณี แพทย์อาจใช้สารเติมเต็มร่วมกับโบท็อกเพื่อให้ได้ผลลัพธ์ที่ยาวนานและชัดเจนยิ่งขึ้น

5. พิจารณาเทคโนโลยีอื่นๆ: หากวิธีข้างต้นไม่ประสบผล แพทย์อาจแนะนำเทคโนโลยีอื่นๆ เช่น เลเซอร์ หรือคลื่นความถี่วิทยุ (RF) และ HIFU  ซึ่งช่วยลดริ้วรอยได้เช่นกัน

สิ่งสำคัญที่หมออยากแนะนำให้ปฏิบัติหากต้องการฉีดโบท็อก มีดังนี้ค่ะ

  • ปฏิบัติตามคำแนะนำของแพทย์อย่างเคร่งครัด
  • แจ้งแพทย์ถึงยาที่กำลังรับประทาน
  • ไม่พยายามฉีดโบท็อกเองหรือนอกสถานพยาบาลที่ไม่ได้มาตรฐาน

นอกจากวิธีการรักษาทางการแพทย์แล้ว คนไข้อาจเสริมประสิทธิภาพด้วยการดูแลตัวเอง ดังนี้

  • นอนหลับพักผ่อนให้เพียงพอ
  • หลีกเลี่ยงการทำกิจกรรมที่อยู่กลางแจ้งนานๆ และอยู่ในที่ๆ แดดแรงนานๆ
  • ทาครีมบำรุงเป็นประจำ และทาครีมกันแดดทุกวัน

ความถี่ในการฉีดโบท็อก (Botox)

ความถี่ในการฉีดโบท็อก (Botox) ขึ้นอยู่กับปัจจัยหลายประการ เช่น ตำแหน่งที่ฉีด จำนวนยูนิตที่ฉีด สภาพผิว และพฤติกรรมของแต่ละบุคคล โดยปกติแล้วโบท็อกจะอยู่ได้ประมาณ 4-6 เดือน สามารถฉีดซ้ำได้ทุก 3-4 เดือนค่ะ

การเปลี่ยนยี่ห้อโบท็อก (Botox) บ่อย

การเปลี่ยนยี่ห้อโบท็อก (Botox) บ่อยอาจส่งผลต่อประสิทธิภาพและความปลอดภัยของการรักษาได้ โดยปกติแล้วโบท็อก (Botox) แต่ละยี่ห้อจะมีส่วนผสมและปริมาณของสารออกฤทธิ์ที่แตกต่างกันไป ดังนั้นหากเปลี่ยนยี่ห้อโบท็อก (Botox) บ่อยอาจส่งผลให้ร่างกายสร้างภูมิคุ้มกันต่อสารออกฤทธิ์ในโบท็อก (Botox) ได้เร็วขึ้น ส่งผลให้การรักษาไม่มีประสิทธิภาพเท่าที่ควร และการดื้อโบท็อก (Botox) ได้

หากคนไข้มีอาการดื้อโบท็อก (Botox) หมอแนะนำควรปรึกษาแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ เพื่อหาแนวทางรักษาที่เหมาะสม สำหรับผู้อ่านทุกท่านที่มีข้อสงสัยเพิ่มเติม ทีมแพทย์ ลินนาคลินิก (LINNA CLINIC)  ทุกคนยินดีให้คำปรึกษาค่ะ

บทความที่เกี่ยวข้อง

Scroll to Top