ก่อนอื่นหมอแนะนำผู้ที่จะเข้ามาทำการฉีดโบท็อก (Botox)  มาเช็คความพร้อมของสุขภาพกันเสียก่อน โดยจะต้องไม่อยู่ระหว่างตั้งครรภ์ และให้นมบุตรส่วนผู้ที่มีโรคประจำตัว เช่น คนที่มีโรคเกี่ยวกับทางเดินหายใจ กล้ามเนื้ออ่อนแรง คนที่มีปัญหากล้ามเนื้อในการกลืน ควรหลีกเลี่ยง เพื่อความปลอดภัย และก่อนฉีดโบท็อก ไม่ควรปกปิดโรคประจำตัวกับแพทย์ผู้ให้การรักษาค่ะ

Table of Contents

ข้อควรพิจารณาก่อนการฉีดโบท็อก (Botox) สำหรับผู้ที่มีโรคประจำตัว

เพื่อความปลอดภัย  ควรปรึกษาแพทย์ผู้ชำนาญการก่อนตัดสินใจฉีดโบท็อก (Botox)  แพทย์จะทำการประเมินความเสี่ยงและความเหมาะสมของคุณโดยพิจารณาจากปัจจัยต่างๆ เช่น

  • ประเภทของโรคประจำตัว: บางโรคอาจส่งผลต่อการแข็งตัวของเลือด หรือระบบประสาท ซึ่งอาจเพิ่มความเสี่ยงจากการฉีดโบท็อก (Botox) ได้
  • ยาที่รับประทานอยู่: ซึ่งยาบางชนิดอาจมีปฏิกิริยาต่อกันกับโบท็อก (Botox) 
  • ประวัติการแพ้ยา: หากคุณเคยแพ้ยาใดๆ หรือมีประวัติการแพ้ทุกชนิดควรแจ้งแพทย์ให้ทราบทุกครั้งก่อนทำการฉีดโบท็อก (Botox)

หมอแนะนำห้ามฉีดโบท็อก (Botox) เองโดยเด็ดขาดเนื่องจากโบท็อก (Botox) เป็นยาที่มีประสิทธิภาพสูงหากใช้ไม่ถูกต้อง การฉีดผิดจุด หรือฉีดในปริมาณที่มากจนเกินไปอาจส่งผลเสียร้ายแรงได้ เช่น ใบหน้าเบี้ยว ตาตก ปากตกเป็นต้น ดังนั้น ควรปรึกษาแพทย์ผู้ชำนาญการเสมอเพื่อความปลอดภัยค่ะ

โรคประจำตัวใดห้ามฉีดโบท็อก (Botox)

  • ผู้ป่วยโรคระบบกล้ามเนื้อ เช่น โรคกล้ามเนื้ออ่อนแรงเอแอลเอส (Amyotrophic Lateral Sclerosis: ALS) โรคกล้ามเนื้ออ่อนแรง (Myasthenia gravis) โรคกล้ามเนื้ออักเสบ ไม่ควรฉีด โบท็อก (Botox)  เพราะอาจส่งผลให้มีอาการที่แย่ลงหลังจากการฉีดโบท็อก (Botox)  เนื่องจากโบท็อก (Botox) ทำงานโดยการยับยั้งการทำงานของกล้ามเนื้อ
  • ผู้ที่มีประวัติแพ้ Albumin ซึ่งเป็นส่วนประกอบของโบท็อก (Botox)  อาจเกิดอาการแพ้ได้
  • ผู้ที่มีประวัติแพ้ Botulinum Toxin ซึ่งเป็นสารออกฤทธิ์ของโบท็อก (Botox)  อาจเกิดอาการแพ้ได้เช่นกัน หากในกรณีที่คนไข้มีความกังวลว่าจะแพ้ Botulinum Toxin สามารถขอให้คุณหมอทำ Skin Test ก่อนการฉีดได้ ซึ่งอาจจะมีค่าใช้จ่ายเพิ่มเติม

นอกจากโรคประจำตัวแล้วกรณีที่คนไข้กำลังตั้งครรภ์หรือให้นมบุตรไม่แนะนำให้ฉีดโบท็อก (Botox) ค่ะ

  • คุณแม่ที่ตั้งครรภ์หรือกำลังให้นมบุตร แม้จะยังไม่มีรายงานเรื่องความอันตราย แต่ก็ยังไม่มีข้อมูลเพียงพอต่อการรับรองถึงความปลอดภัยเช่นกัน อีกทั้งในระหว่างการตั้งครรภ์ คุณแม่ควรจะหลีกเลี่ยงสารเคมีที่อาจส่งผลต่อร่างกายทุกชนิดไม่ว่าจะบริเวณไหนก็ตามให้มากที่สุดดังนั้นคุณแม่ที่ตั้งครรภ์หรือกำลังให้นมบุตรจึงควรหลีกเลี่ยงการฉีดโบท็อก (Botox) ไปก่อนค่ะ

ทั้งนี้หากคุณแม่ที่ตั้งครรภ์ต้องการฉีดโบท็อก (Botox) และสงสัยว่าสามารถทำหัตถการความงามด้านอื่นๆแทนได้หรือไม่ คุณแม่สามารถสอบถามลินนาคลินิก (LINNA Clinic) หรือเข้ามาปรึกษาคุณหมอได้เลยค่ะ

ยาและอาหารเสริมที่ควรเลี่ยง หากต้องการฉีดโบท็อก (Botox)

ควรเลี่ยงที่จะรับประทานกลุ่มตัวยา และอาหารเสริมที่ส่งผลต่อการแข็งตัวของเลือดอย่างน้อย 1 สัปดาห์ เพราะอาจจะทำให้เลือดหยุดไหลได้ช้า และอาจจะทิ้งรอยช้ำบริเวณบนผิวหนังบริเวณที่ฉีด ซึ่งได้แก่ตัวยา และกลุ่มอาหารเสริม ดังต่อไปนี้

  • วิตามิน อี (Vitamin E)
  • น้ำมันอีฟนิ่งพริมโรส (Evening Primrose)
  • ยาแก้ปวด
  • ยาต้านการอักเสบ ชนิด NSAIDs ได้แก่ 
  • แอสไพริน (Aspirin)
  • ไอบูโพรเฟน (Ibuprofen) 
  • นาพรอกเซน (Naproxen)

นอกจากนี้ อาหารเสริมที่มีส่วนผสมของสมุนไพร เช่น ขิง ข่า ตะไคร้ กระเทียม โสม สารสกัดจากใบแปะก๊วย จะทำให้ภายในร่างกายรู้สึกร้อน หรืออาหารเสริมชนิดที่มีวิตามินซี หรือคอลลาเจนที่ทำให้ระบบเลือดไหลเวียนดี แนะนำให้หลีกเลี่ยงเช่นกันเพราะอาจทำให้เลือดไหลออกได้ง่าย ซึ่งอาจทำให้เกิดอาการช้ำได้มากหลังฉีดโบท็อก (Botox) ได้เช่นกัน ดังนั้น ควรเลี่ยงที่จะรับประทานหรือใช้ผลิตภัณฑ์เหล่านี้ทั้งก่อนและหลังทำการฉีดโบท็อก (Botox) 7 วันค่ะ

ข้อควรระวังและผลข้างเคียงที่อาจเกิดได้หลังฉีดโบท็อก (Botox)

โดยส่วนมาก การฉีดโบท็อก (Botox) มักไม่มีผลข้างเคียงที่เป็นอันตรายร้ายแรง หากทำการฉีดโดยแพทย์ผู้ชำนาญการและอยู่ในปริมาณที่เหมาะสม รวมถึงมีการเว้นระยะการฉีดไปไม่ต่ำกว่า 3 เดือนเพื่อป้องกันการดื้อยาค่ะ

 ผลข้างเคียงที่สามารถพบได้ทั่วไป หลังจากการฉีดโบท็อก (Botox) มีดังนี้

  • อาจมีอาการปวดศีรษะหรือปวดในบริเวณที่ฉีด มักเกิดขึ้นได้หลังจากการฉีด 1-2 วันอาการปวดมักไม่รุนแรง ซึ่งอาจเกิดขึ้นได้ในบางคน
  • เคี้ยวอาหารได้ยากขึ้น โดยเฉพาะอาหารที่มีความแข็งและเหนียว เพราะกล้ามเนื้อส่วนกรามในบริเวณที่ทำการฉีดโบท็อก (Botox) มากล้ามเนื้อจะมีความเล็กลง อาจทำให้รู้สึกเมื่อยเวลาเคี้ยวอาหารมากขึ้นได้ในช่วงแรกและอาการจะค่อยๆ ดีขึ้นภายใน 1-2 สัปดาห์
  • ข้อต่อของขากรรไกรไม่แข็งแรงเท่าเดิมพบได้น้อยมักเกิดขึ้นในผู้ที่ฉีดโบท็อกบริเวณกรามเป็นจำนวนมากเกินความจำเป็นแต่อาการจะค่อยๆ ดีขึ้นภายใน 2-4 สัปดาห์
  • ใบหน้าทั้งสองข้างไม่สมมาตร หรือปากเบี้ยวเวลายิ้มควรเข้ามาปรึกษาแพทย์เพื่อรับการแก้ไขได้ทันท่วงที
  • สำหรับผู้ที่แต่เดิมมีเนื้อแก้มเยอะ ผิวไม่กระชับ เมื่อฉีดโบท็อก (Botox) จนหน้าเรียวขึ้นแล้ว อาจทำให้เนื้อแก้มหย่อนคล้อยลงมาเล็กน้อย หลังจากการฉีดโบท็อก (Botox) ลดกรามแล้วอาจจะต้องมีการทำหัตถการอื่นควบคู่เพื่อช่วยให้รูปหน้าดูมีความกระชับ ดูเรียวขึ้น และไม่หย่อนคล้อย หมอจะแนะนำให้ทำโบท็อก คุวบคู่กับการใช้เครื่องยกกระชับ เช่น HIFU พร้อมกันค่ะ หรือสามารถเข้ามาปรึกษาแพทย์เพิ่มเติมได้ค่ะ

ส่วนมากผลข้างเคียงที่กล่าวไปข้างต้นนั้น มักส่งผลไม่ร้ายแรงมากนัก และจะเกิดในระยะเวลาสั้นๆ เท่านั้น จากนั้นอาการจะค่อยๆดีขึ้นหรือหายไปเอง  แต่ในกรณีที่ส่งผลข้างเคียงระยะยาว ผู้เข้ารับบริการอาจจำเป็นจะต้องรอให้สารโบทูลินัม ท็อกซิน ที่ฉีดเข้าไปสลายไปเองก่อน แล้วอาการข้างเคียงจึงจะหายไป หรือเข้ามาพบแพทย์เพื่อรับคำแนะนำและแก้ไขปัญหาได้ค่ะ

อย่างไรแล้วโบท็อก (Botox) ไม่ได้อันตรายต่อผิวหน้าและผิวกาย หากมีโรคประจำตัวหรือการแพ้ยาควรแจ้งแพทย์ผู้ที่ทำการรักษาให้ทราบก่อนทำการฉีดโบท็อก (Botox) ในทุกกรณี พร้อมกับการดูแล ก่อนฉีดและหลังฉีดโบท็อก (Botox) ตามคำแนะนำของแพทย์ผู้ชำนาญการนอกจากนี้ ควรศึกษาข้อมูลและรีวิวของคลินิกก่อนทำตัดสินใจฉีดโบท็อก (Botox) เพื่อให้มั่นใจว่าจะได้รับบริการที่ดีและปลอดภัยเลือกคลินิกที่น่าเชื่อถือทั้งนี้ แนะนำให้ปรึกษาแพทย์เพื่อการวางแผนการรักษาได้อย่างตรงจุดและเหมาะกับทุกปัญหาผิวหน้าของแต่ละบุคคลจากแพทย์ผู้ชำนาญการ ที่ลินนาคลินิก (LINNA Clinic)  เราเน้นเรื่องความปลอดภัย เป็นอันดับหนึ่ง และการใช้ผลิตภัณฑ์ที่ได้มาตรฐาน มีบริการรักษาปรับสภาพผิวหน้าให้ดูอ่อนเยาว์ เพื่อผิวหน้ากลับมาเต่งตึงอีกครั้งคนไข้สามารถปรึกษาลินนาคลินิกได้ที่เบอร์ 063-609-8888 หรือทางไลน์ @linnaclinic ค่ะ

บทความที่เกี่ยวข้อง

Scroll to Top