มีโรคประจำตัวอยู่ ฉีดโบท็อก (Botox) ได้ไหม

ก่อนอื่นหมอแนะนำผู้ที่จะเข้ามาทำการฉีดโบท็อก (Botox)  มาเช็คความพร้อมของสุขภาพกันเสียก่อน โดยจะต้องไม่อยู่ระหว่างตั้งครรภ์ และให้นมบุตรส่วนผู้ที่มีโรคประจำตัว เช่น คนที่มีโรคเกี่ยวกับทางเดินหายใจ กล้ามเนื้ออ่อนแรง คนที่มีปัญหากล้ามเนื้อในการกลืน ควรหลีกเลี่ยง เพื่อความปลอดภัย และก่อนฉีดโบท็อก ไม่ควรปกปิดโรคประจำตัวกับแพทย์ผู้ให้การรักษาค่ะ

Table of Contents

ข้อควรพิจารณาก่อนการฉีดโบท็อก (Botox) สำหรับผู้ที่มีโรคประจำตัว

เพื่อความปลอดภัย  ควรปรึกษาแพทย์ผู้ชำนาญการก่อนตัดสินใจฉีดโบท็อก (Botox)  แพทย์จะทำการประเมินความเสี่ยงและความเหมาะสมของคุณโดยพิจารณาจากปัจจัยต่างๆ เช่น

  • ประเภทของโรคประจำตัว: บางโรคอาจส่งผลต่อการแข็งตัวของเลือด หรือระบบประสาท ซึ่งอาจเพิ่มความเสี่ยงจากการฉีดโบท็อก (Botox) ได้
  • ยาที่รับประทานอยู่: ซึ่งยาบางชนิดอาจมีปฏิกิริยาต่อกันกับโบท็อก (Botox) 
  • ประวัติการแพ้ยา: หากคุณเคยแพ้ยาใดๆ หรือมีประวัติการแพ้ทุกชนิดควรแจ้งแพทย์ให้ทราบทุกครั้งก่อนทำการฉีดโบท็อก (Botox)

หมอแนะนำห้ามฉีดโบท็อก (Botox) เองโดยเด็ดขาดเนื่องจากโบท็อก (Botox) เป็นยาที่มีประสิทธิภาพสูงหากใช้ไม่ถูกต้อง การฉีดผิดจุด หรือฉีดในปริมาณที่มากจนเกินไปอาจส่งผลเสียร้ายแรงได้ เช่น ใบหน้าเบี้ยว ตาตก ปากตกเป็นต้น ดังนั้น ควรปรึกษาแพทย์ผู้ชำนาญการเสมอเพื่อความปลอดภัยค่ะ

โรคประจำตัวใดห้ามฉีดโบท็อก (Botox)

  • ผู้ป่วยโรคระบบกล้ามเนื้อ เช่น โรคกล้ามเนื้ออ่อนแรงเอแอลเอส (Amyotrophic Lateral Sclerosis: ALS) โรคกล้ามเนื้ออ่อนแรง (Myasthenia gravis) โรคกล้ามเนื้ออักเสบ ไม่ควรฉีด โบท็อก (Botox)  เพราะอาจส่งผลให้มีอาการที่แย่ลงหลังจากการฉีดโบท็อก (Botox)  เนื่องจากโบท็อก (Botox) ทำงานโดยการยับยั้งการทำงานของกล้ามเนื้อ
  • ผู้ที่มีประวัติแพ้ Albumin ซึ่งเป็นส่วนประกอบของโบท็อก (Botox)  อาจเกิดอาการแพ้ได้
  • ผู้ที่มีประวัติแพ้ Botulinum Toxin ซึ่งเป็นสารออกฤทธิ์ของโบท็อก (Botox)  อาจเกิดอาการแพ้ได้เช่นกัน หากในกรณีที่คนไข้มีความกังวลว่าจะแพ้ Botulinum Toxin สามารถขอให้คุณหมอทำ Skin Test ก่อนการฉีดได้ ซึ่งอาจจะมีค่าใช้จ่ายเพิ่มเติม

นอกจากโรคประจำตัวแล้วกรณีที่คนไข้กำลังตั้งครรภ์หรือให้นมบุตรไม่แนะนำให้ฉีดโบท็อก (Botox) ค่ะ

  • คุณแม่ที่ตั้งครรภ์หรือกำลังให้นมบุตร แม้จะยังไม่มีรายงานเรื่องความอันตราย แต่ก็ยังไม่มีข้อมูลเพียงพอต่อการรับรองถึงความปลอดภัยเช่นกัน อีกทั้งในระหว่างการตั้งครรภ์ คุณแม่ควรจะหลีกเลี่ยงสารเคมีที่อาจส่งผลต่อร่างกายทุกชนิดไม่ว่าจะบริเวณไหนก็ตามให้มากที่สุดดังนั้นคุณแม่ที่ตั้งครรภ์หรือกำลังให้นมบุตรจึงควรหลีกเลี่ยงการฉีดโบท็อก (Botox) ไปก่อนค่ะ

ทั้งนี้หากคุณแม่ที่ตั้งครรภ์ต้องการฉีดโบท็อก (Botox) และสงสัยว่าสามารถทำหัตถการความงามด้านอื่นๆแทนได้หรือไม่ คุณแม่สามารถสอบถามลินนาคลินิก (LINNA Clinic) หรือเข้ามาปรึกษาคุณหมอได้เลยค่ะ

ยาและอาหารเสริมที่ควรเลี่ยง หากต้องการฉีดโบท็อก (Botox)

ควรเลี่ยงที่จะรับประทานกลุ่มตัวยา และอาหารเสริมที่ส่งผลต่อการแข็งตัวของเลือดอย่างน้อย 1 สัปดาห์ เพราะอาจจะทำให้เลือดหยุดไหลได้ช้า และอาจจะทิ้งรอยช้ำบริเวณบนผิวหนังบริเวณที่ฉีด ซึ่งได้แก่ตัวยา และกลุ่มอาหารเสริม ดังต่อไปนี้

  • วิตามิน อี (Vitamin E)
  • น้ำมันอีฟนิ่งพริมโรส (Evening Primrose)
  • ยาแก้ปวด
  • ยาต้านการอักเสบ ชนิด NSAIDs ได้แก่ 
  • แอสไพริน (Aspirin)
  • ไอบูโพรเฟน (Ibuprofen) 
  • นาพรอกเซน (Naproxen)

นอกจากนี้ อาหารเสริมที่มีส่วนผสมของสมุนไพร เช่น ขิง ข่า ตะไคร้ กระเทียม โสม สารสกัดจากใบแปะก๊วย จะทำให้ภายในร่างกายรู้สึกร้อน หรืออาหารเสริมชนิดที่มีวิตามินซี หรือคอลลาเจนที่ทำให้ระบบเลือดไหลเวียนดี แนะนำให้หลีกเลี่ยงเช่นกันเพราะอาจทำให้เลือดไหลออกได้ง่าย ซึ่งอาจทำให้เกิดอาการช้ำได้มากหลังฉีดโบท็อก (Botox) ได้เช่นกัน ดังนั้น ควรเลี่ยงที่จะรับประทานหรือใช้ผลิตภัณฑ์เหล่านี้ทั้งก่อนและหลังทำการฉีดโบท็อก (Botox) 7 วันค่ะ

ข้อควรระวังและผลข้างเคียงที่อาจเกิดได้หลังฉีดโบท็อก (Botox)

โดยส่วนมาก การฉีดโบท็อก (Botox) มักไม่มีผลข้างเคียงที่เป็นอันตรายร้ายแรง หากทำการฉีดโดยแพทย์ผู้ชำนาญการและอยู่ในปริมาณที่เหมาะสม รวมถึงมีการเว้นระยะการฉีดไปไม่ต่ำกว่า 3 เดือนเพื่อป้องกันการดื้อยาค่ะ

 ผลข้างเคียงที่สามารถพบได้ทั่วไป หลังจากการฉีดโบท็อก (Botox) มีดังนี้

  • อาจมีอาการปวดศีรษะหรือปวดในบริเวณที่ฉีด มักเกิดขึ้นได้หลังจากการฉีด 1-2 วันอาการปวดมักไม่รุนแรง ซึ่งอาจเกิดขึ้นได้ในบางคน
  • เคี้ยวอาหารได้ยากขึ้น โดยเฉพาะอาหารที่มีความแข็งและเหนียว เพราะกล้ามเนื้อส่วนกรามในบริเวณที่ทำการฉีดโบท็อก (Botox) มากล้ามเนื้อจะมีความเล็กลง อาจทำให้รู้สึกเมื่อยเวลาเคี้ยวอาหารมากขึ้นได้ในช่วงแรกและอาการจะค่อยๆ ดีขึ้นภายใน 1-2 สัปดาห์
  • ข้อต่อของขากรรไกรไม่แข็งแรงเท่าเดิมพบได้น้อยมักเกิดขึ้นในผู้ที่ฉีดโบท็อกบริเวณกรามเป็นจำนวนมากเกินความจำเป็นแต่อาการจะค่อยๆ ดีขึ้นภายใน 2-4 สัปดาห์
  • ใบหน้าทั้งสองข้างไม่สมมาตร หรือปากเบี้ยวเวลายิ้มควรเข้ามาปรึกษาแพทย์เพื่อรับการแก้ไขได้ทันท่วงที
  • สำหรับผู้ที่แต่เดิมมีเนื้อแก้มเยอะ ผิวไม่กระชับ เมื่อฉีดโบท็อก (Botox) จนหน้าเรียวขึ้นแล้ว อาจทำให้เนื้อแก้มหย่อนคล้อยลงมาเล็กน้อย หลังจากการฉีดโบท็อก (Botox) ลดกรามแล้วอาจจะต้องมีการทำหัตถการอื่นควบคู่เพื่อช่วยให้รูปหน้าดูมีความกระชับ ดูเรียวขึ้น และไม่หย่อนคล้อย หมอจะแนะนำให้ทำโบท็อก คุวบคู่กับการใช้เครื่องยกกระชับ เช่น HIFU พร้อมกันค่ะ หรือสามารถเข้ามาปรึกษาแพทย์เพิ่มเติมได้ค่ะ

ส่วนมากผลข้างเคียงที่กล่าวไปข้างต้นนั้น มักส่งผลไม่ร้ายแรงมากนัก และจะเกิดในระยะเวลาสั้นๆ เท่านั้น จากนั้นอาการจะค่อยๆดีขึ้นหรือหายไปเอง  แต่ในกรณีที่ส่งผลข้างเคียงระยะยาว ผู้เข้ารับบริการอาจจำเป็นจะต้องรอให้สารโบทูลินัม ท็อกซิน ที่ฉีดเข้าไปสลายไปเองก่อน แล้วอาการข้างเคียงจึงจะหายไป หรือเข้ามาพบแพทย์เพื่อรับคำแนะนำและแก้ไขปัญหาได้ค่ะ

อย่างไรแล้วโบท็อก (Botox) ไม่ได้อันตรายต่อผิวหน้าและผิวกาย หากมีโรคประจำตัวหรือการแพ้ยาควรแจ้งแพทย์ผู้ที่ทำการรักษาให้ทราบก่อนทำการฉีดโบท็อก (Botox) ในทุกกรณี พร้อมกับการดูแล ก่อนฉีดและหลังฉีดโบท็อก (Botox) ตามคำแนะนำของแพทย์ผู้ชำนาญการนอกจากนี้ ควรศึกษาข้อมูลและรีวิวของคลินิกก่อนทำตัดสินใจฉีดโบท็อก (Botox) เพื่อให้มั่นใจว่าจะได้รับบริการที่ดีและปลอดภัยเลือกคลินิกที่น่าเชื่อถือทั้งนี้ แนะนำให้ปรึกษาแพทย์เพื่อการวางแผนการรักษาได้อย่างตรงจุดและเหมาะกับทุกปัญหาผิวหน้าของแต่ละบุคคลจากแพทย์ผู้ชำนาญการ ที่ลินนาคลินิก (LINNA Clinic)  เราเน้นเรื่องความปลอดภัย เป็นอันดับหนึ่ง และการใช้ผลิตภัณฑ์ที่ได้มาตรฐาน มีบริการรักษาปรับสภาพผิวหน้าให้ดูอ่อนเยาว์ เพื่อผิวหน้ากลับมาเต่งตึงอีกครั้งคนไข้สามารถปรึกษาลินนาคลินิกได้ที่เบอร์ 063-609-8888 หรือทางไลน์ @linnaclinic ค่ะ

Related Articles

เทรนด์การฉีดโบท็อก แบบไหนที่นิยมในหมู่ Celeb

ดารา Hollywood เริ่มฉีด เบบี้โบท็อก (Baby Botox) จนเป็นเทรนด์ฮอตฮิตอยู่ตอนนี้ ดาราสาวหลายคนกล่าวว่า รู้สึกว่าการฉีดเทคนิคเบบี้โบท็อก (Baby Botox) เป็นวิธีที่ทำให้มีความอ่อนเยาว์หน้าดูเด็กที่สุดทำให้ดูสวยอย่างเป็นธรรมชาติ Table of Contents เบบี้โบท็อก (Baby Botox) คืออะไร เบบี้โบท็อก (Baby Botox) คือ เทคนิคการฉีดโบท็อก (Botox) แบบใหม่ล่าสุดที่ฮิตมากในหมู่เซเลปคนดังฮอลลีวูดถือเป็นเทคนิคการฉีดโบท็อก (Botox) เพื่อเน้นลดริ้วรอย เช่น รอยย่นบนบริเวณหน้าผาก รอยขมวดคิ้ว และรอยตีนกา แต่ใบหน้ายังเคลื่อนไหวได้อย่างเป็นธรรมชาติ การฉีดโบท็อก (Botox) ในบริเวณรอยลึก สำหรับการฉีดโบท็อก (Botox) ลดริ้วรอยจะเห็นผลชัดเจนในการแก้ปัญหาริ้วรอยตื้นๆ หรือริ้วรอยที่เกิดจากการแสดงสีหน้า เช่น การขมวดคิ้ว การเลิกคิ้ว ริ้วรอยตีนกา การยิ้ม ริ้วรอยร่องแก้ม เป็นต้น แต่ถ้าหากเป็นปัญหาริ้วรอยร่องลึกที่เกิดจากปัญหากระดูกทรุดตัว อาจจะต้องแก้ไขโดยการฉีดฟิลเลอร์หนุนในชั้นผิว เพราะสารเติมเต็มในฟิลเลอร์สามารถแก้ปัญหาริ้วรอยร่องลึกได้มากกว่าการฉีดโบท็อก (Botox) ลดริ้วรอยค่ะ 3 เทคนิคฉีดโบท็อก (Botox)

อยากฉีดโบท็อก (Botox) แต่กลัวเข็ม กลัวเจ็บ ทำอย่างไรดี

ก่อนทำหัตถการทุกครั้ง หมอจะทำการแปะยาชาหรือใช้น้ำแข็งช่วยประคบเย็นก่อนทำการฉีดทุกครั้ง รวมถึงเข็มที่ลินนาคลินิกเลือกใช้จะมีขนาดที่เล็กเป็นพิเศษ จึงทำให้ไม่รู้สึกเจ็บเท่ากับเข็มที่มีขนาดทั่วไปค่ะ หากใครที่มีความกลัวเข็มมากเป็นพิเศษก็สามารถขอทำการแปะยาชาก่อนได้เช่นกันโดยไม่มีค่าใช้จ่ายเพิ่มเติม  และเราเองมีการใช้ตัว Face Vibration เพื่อช่วยในการเบนความสนใจได้ด้วยเช่นกัน และยังมีตัวช่วยอื่นๆที่หมอสรุปไว้ให้ด้านล่างนี้ด้วยเช่นกันค่ะ นอกจากนั้นทางหากท่านใดมีความกังวลหรือไม่สบายใจตรงจุดไหนสามารถเข้ามาพูดคุยสอบถามรายละเอียดขั้นตอนการรักษากับหมอได้ที่ลินนาคลินิก (LINNA Clinic) ก่อนได้เลยนะคะ Table of Contents คนกลัวเข็มจัดการกับการกลัวอย่างไรดี การแก้ไขอาการกลัวเหล่านี้สามารถทำได้ง่าย ๆ โดยเริ่มที่ตัวเราเองได้เลยค่ะ มีวิธีการดังนี้ ปรับทัศนคติของตัวเองใหม่ การจัดลำดับความคิดของตัวเองให้ได้เป็นสิ่งที่ต้องทำเป็นอย่างแรกเลยค่ะ ก่อนอื่นให้ปรับทัศนคติที่มีต่อสิ่งที่ตัวเองกลัว ยกตัวอย่าง เช่น การกลัวเข็ม โดยให้คิดว่าการเผชิญหน้าอย่างค่อยเป็นค่อยไปสามารถทำได้โดยค่อย ๆ เอาตัวเองไปอยู่กับสิ่งๆนั้นให้มากขึ้นไม่ต้องทำในทันทีทันใดนะคะ ให้ค่อย ๆ ทำ เช่น ไปอยู่กับเพื่อนที่ทำมาแล้วสวยเราก็จะเริ่มซึมซับและปรับทัศนคติให้กลัวน้อยลงและมีความกล้ามากขึ้นที่จะทำค่ะ ตั้งสมาธิและผ่อนคลาย คนที่ไม่กล้า ผ่า ฉีดยา การตั้งสมาธิช่วยทำให้เราใจเย็นลงได้ แต่มันทำได้มากกว่านั้นค่ะ โดยการตั้งสมาธิกำหนดลมหายใจ เข้า-ออกจะช่วยให้จิตใจของเรานิ่งมากขึ้นค่ะ โดยคนเป็นโรคนี้ถ้าหากฝึกไปเรื่อย ๆ ยิ่งฝึกมากเท่าไหร่ก็จะสามารถ ควบคุมสติและควบคุมอารมณ์ของตัวเองได้มากขึ้นค่ะ การเบี่ยงเบนความสนใจ หากกลัวว่าตัวเองจะทำไม่ได้ให้พยายามคิดถึงสิ่งอื่นแทนค่ะโดยก่อนทำอาจจะแจ้งหมอของเราว่าให้ช่วยพูดเพื่อเบี่ยงเบนความสนใจ ในขณะที่ฉีดยาชา สมองจะได้คิดไปเรื่องอื่นไม่มาโฟกัสเรื่องนี้หรือขณะที่ทำให้ตัวเองหันหน้าไปมองทางอื่นเพื่อจะได้ไม่มองเห็นซึ่งเป็นวิธีที่ได้ผลมากเลยค่ะ ใช้ตัวยา Penthrox ช่วย

โบท็อก (Botox) เกาหลีกับอเมริกาตัวไหนดีกว่ากัน

การฉีดโบท็อก (Botox) ในปัจจุบันคลินิกส่วนใหญ่จะมีโบท็อก (Botox) หลายยี่ห้อให้คนไข้เลือก ซึ่งโบท็อก (Botox) เกาหลีและอเมริกาเป็นโบท็อก (Botox) ที่ได้รับความนิยมมากค่ะ สำหรับใครที่กำลังหาข้อมูลการฉีดโบท็อก (Botox)  หมอจะอธิบายว่าโบท็อก (Botox) เกาหลีอเมริกาคืออะไร มีข้อดีข้อเสียต่างกันอย่างไร เพื่อเป็นข้อมูลประกอบการตัดสินใจค่ะ Table of Contents โบท็อก (Botox) เกาหลี คืออะไร โบท็อก (Botox) เกาหลี คือ โบท็อก (Botox) ที่ผลิตและนำเข้ามาจากสาธารณรัฐเกาหลีหรือประเทศเกาหลีใต้ เริ่มใช้กันมาเกือบ 10 ปี ได้รับความนิยมอย่างรวดเร็วในประเทศไทย ทั้งนี้อาจเป็นเพราะกระแสความนิยมของนักแสดงและนักร้องเกาหลีที่โด่งดังในเมืองไทย เลยทำให้หลายคนเริ่มอยากมีใบหน้าเรียวเหมือนคนเกาหลี เมื่อโบท็อก (Botox) เกาหลีเข้ามาประเทศไทย ทุกคนจึงมีความนิยมฉีดของเกาหลี เพราะหวังว่าจะได้หน้าเรียวสวยแบบไอดอลเกาหลี และโบท็อก (Botox) เกาหลีค่อนข้างได้รับความนิยมด้วยราคาที่ถูกกว่ามาก ปัจจุบันมีหลายยี่ห้อที่ผ่านการรับรองจากอย. เช่นยี่ห้อ Botulax และ Nabota ความบริสุทธิ์เฉลี่ยอยู่ที่ประมาณ 98.7% โบท็อก (Botox) เกาหลีกับอเมริกาตัวไหนดีกว่ากัน

Scroll to Top