บริเวณที่ไม่แนะนำให้ฉีดโบท็อก (Botox)

บริเวณบางส่วนหมอไม่แนะนำให้ฉีดโบท็อก (Botox) นะคะ เนื่องจากมีโอกาสส่งผลเสียต่อการทำงานของกล้ามเนื้อหรือทำให้ใบหน้าดูผิดธรรมชาติค่ะ

บริเวณหลักที่ไม่ควรฉีดโบท็อก (Botox) ได้แก่

  • บริเวณเหนือคิ้วนิดหน่อย อาจทำให้คิ้วตก หรือฉีดแล้วตาดูเหนื่อยล้า ดูไม่เป็นธรรมชาติ
  • เปลือกตา  อาจทำให้หนังตาตก ปิดตาไม่สนิท มองเห็นภาพซ้อน
  • บริเวณใต้ตา ในเคสที่มีถุงใต้ตา อาจทำให้ถุงใต้ตาดูหย่อนชัดเจนมากยิ่งขึ้น
  • โหนกแก้ม หน้าแก้ม ถ้าฉีดลึกไปอาจจะทำให้ยิ้มเบี้ยวได้
  • ร่องแก้ม ทำให้เวลาแสดงสีหน้าจะดูไม่เป็นธรรมชาติ

นอกจากนี้ ยังมีบริเวณอื่นๆ ที่ไม่ควรฉีดโบท็อก (Botox) ได้แก่

  • บริเวณที่ผิวหนังอักเสบ หรือมีแผลเปิด: เสี่ยงติดเชื้อ
  • บริเวณที่มีอาการบวมช้ำ: อาจทำให้บวมมากขึ้น
  • บริเวณที่มีเส้นประสาทอยู่ใกล้ๆ: เสี่ยงโดนเส้นประสาท 
  • บริเวณที่ไม่ควรฉีดอาจแตกต่างขึ้นอยู่กับปัญหาของแต่ละบุคคล หมอจะพิจารณาเป็นรายบุคคลค่ะ 

 

Table of Contents

ผลข้างเคียงและความเสี่ยงของการฉีดโบท็อก (Botox) ในบริเวณที่ไม่เหมาะสม

เป็นที่ทราบกันดีนะคะว่าการฉีดโบท็อก (Botox)เป็นหัตถการทางการแพทย์ที่ได้รับความนิยมอย่างมากในปัจจุบัน เนื่องจากสามารถช่วยแก้ปัญหาริ้วรอยและปรับรูปหน้าได้อย่างมีประสิทธิภาพ อย่างไรก็ตาม การฉีดโบท็อก (Botox) ในบริเวณที่ไม่เหมาะสมอาจก่อให้เกิดผลข้างเคียงต่างๆ ตามมาได้ หมอขอยกตัวอย่างดังนี้ค่ะ

  • ผลข้างเคียงที่เกิดขึ้นได้ชั่วคราว
  • รอยช้ำบริเวณที่ฉีด
  • อาการบวมบริเวณที่ฉีด
  • ปวดบริเวณที่ฉีด
  • รู้สึกชาบริเวณที่ฉีด
  • ตาพร่ามัว
  • มองเห็นภาพซ้อน
  • พูดไม่ชัด
  • กลืนลำบาก
  • ยิ้มเบี้ยว
  • ปากเบี้ยว
  • หน้าแข็ง
  • ติดเชื้อบริเวณที่ฉีด
  • กล้ามเนื้ออ่อนแรงหรือเป็นอัมพาตชั่วคราว
  • ระคายเคืองบริเวณที่ฉีด
  • เกิดก้อนแข็งบริเวณที่ฉีด
  • เกิดอาการแพ้

โอกาสของผลข้างเคียงที่อาจเกิดขึ้นได้

หมอขออธิบายผลข้างเคียงที่อาจเกิดขึ้นได้ดังนี้ค่ะอาการปวดศีรษะหรือความรู้สึกเจ็บๆ คันๆ (พบประมาณ 2.5%) รอยช้ำจากการที่ เข็มฉีดยาทำให้เกิดความบาดเจ็บต่อหลอดเลือด มักเกิดบริเวณหางตา อาการคิ้วหรือ หนังตาตก (มีโอกาสเกิด 1-3%) อาการปวดบวมบริเวณที่ฉีด (2.5%) กล้ามเนื้อ อ่อนแรงเฉพาะที่ (1.7%) ซึ่งผลข้างเคียง เหล่านี้มักเป็นเล็กน้อยหรือปานกลาง และ มักหายไปเองใน 1-2 สัปดาห์ค่ะ

ก่อนฉีดโบท็อก ควรปรึกษาแพทย์ผู้เชี่ยวชาญอย่างละเอียด เพื่อแพทย์ประเมินปัญหา และแนะนำบริเวณที่เหมาะสม ปริมาณยาที่เหมาะสม เพื่อความปลอดภัยและได้ผลลัพธ์ที่ดีที่สุด จำเป็นต้องแจ้งแพทย์เกี่ยวกับประวัติสุขภาพของคุณอย่างครบถ้วน เพื่อให้แพทย์พิจารณาความเหมาะสมในการฉีดโบท็อก และป้องกันผลข้างเคียงที่อาจเกิดขึ้นได้ การฉีดโบท็อกเป็นการรักษาความงามชนิดหนึ่ง ควรเลือกสถานพยาบาลที่ได้มาตรฐาน ปรึกษาแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ และคำนึงถึงความปลอดภัยเป็นอันดับแรกค่ะ

หมอขอแนะนำคนไข้ห้ามฉีดโบท็อก (Botox) หากคุณมีโรคเหล่านี้และอยู่ระหว่างการตั้งครรภ์

  1. มีความผิดปกติทางกล้ามเนื้อและระบบประสาท เพราะอาจมีอาการแย่ลง เช่น โรค Myasthenia gravis หรือ โรค Amyotrophic lateral sclerosis
  2. กำลังตั้งครรภ์ / อยู่ในระหว่างให้นมบุตร แม้ไม่เคยมีรายงานถึงอันตรายที่เกิดขึ้นแก่ผู้ป่วยกลุ่มนี้ แต่เนื่องจากไม่มีข้อมูลเพียงพอว่าปลอดภัยจึงควรหลีกเลี่ยงการรักษา

ทางเลือกอื่นสำหรับการปรับรูปหน้าในบริเวณที่ไม่แนะนำให้ฉีดโบท็อก เพื่อให้ได้ผลลัพธ์ที่มีความเป็นธรรมชาติ

ทางเลือกสำหรับการปรับรูปหน้าในบริเวณที่ไม่สามารถฉีดโบท็อก (Botox) ได้ มีอยู่หลายวิธี ขึ้นอยู่กับบริเวณที่ต้องการปรับและผลลัพธ์ที่ต้องการ หมอขอยกตัวอย่างดังนี้ค่ะ

  • ฟิลเลอร์ เป็นสารเติมเต็มที่ใช้ฉีดเข้าไปใต้ผิวหนังเพื่อเติมเต็มร่องลึกหรือปรับรูปทรงใบหน้าได้ โดยแพทย์จะเลือกใช้สารเติมเต็มที่เหมาะสมกับปัญหาของแต่ละบุคคล ผลลัพธ์จะอยู่ได้นานประมาณ 6-12 เดือน
  • HIFU: เป็นการใช้คลื่นอัลตร้าซาวด์ความเข้มข้นสูง โดยส่งเข้าไปทำลายเนื้อเยื่อในชั้นผิวหนังเหมาะสำหรับลดริ้วรอย แก้ปัญหากระชับผิวลึก ปรับรูปหน้า ผลลัพธ์ยาวนาน 6-12 เดือน
  • RF: คือเทคโนโลยีความถี่คลื่นวิทยุ จะทำให้เกิดความร้อนในเนื้อเยื่อใต้ผิวหนัง ทำให้คอลลาเจนในชั้นใต้ผิวหนัง เหมาะสำหรับกระตุ้นคอลลาเจน ลดริ้วรอยตื้น ผิวเรียบเนียน กระชับผิว ผลลัพธ์อยู่ได้ 3-6 เดือน
  • ฉีด Skin Boosters หรือ กลุ่ม Collagen Biostimulator เป็นการฉีดสารกระตุ้นคอลลาเจน หรือวิตามินเข้าไปใต้ชั้นผิว เพื่อกระตุ้นการสร้างคอลลาเจนและอีลาสติน ทำให้ผิวกระชับ ริ้วรอยจางลง ผิวดูอิ่มฟู ผิวกลับมาอ่อนเยาว์ ระยะเวลาผลลัพธ์ขึ้นอยู่กับตัวที่เลือกมฉีด
  • ศัลยกรรม เป็นวิธีการปรับรูปห้าที่ได้รับความนิยมในปัจจุบัน เนื่องจากเป็นวิธีแก้ปัญหาอย่างถาวรหรืออยู่ได้ยาวนาน โดยแพทย์จะผ่าตัดปรับรูปทรงใบหน้าตามความต้องการ ทั้งนี้ควรปรึกษาแพทย์ผู้เชี่ยวชาญเพื่อให้แพทย์ประเมินและแนะนำแนวทางการรักษาที่เหมาะสมสำหรับแต่ละบุคคลค่ะ แต่ข้อเสียคือต้องใช้เวลาพักฟื้นนานและราคาสูง

เข้าใจวัตถุประสงค์และข้อจำกัดของการฉีดโบท็อก (Botox)

ก่อนที่จะทำความเข้าใจข้อจำกัดของการฉีดโบท็อก (Botox) หมออยากให้เข้าใจวัตถุประสงค์ก่อนค่ะว่าโบท็อก (Botox) แท้ที่จริงแล้วเราฉีดเพื่ออะไรกันแน่ หลายคนคงทราบแล้วว่าโบท็อก (Botox) เป็นชื่อการค้าของยาโบทูลินัมท็อกซิน (Botulinum toxin) ซึ่งเป็นสาร Toxin ที่ผลิตโดยแบคทีเรียชนิด Clostridium Botulinum มีคุณสมบัติในการยับยั้งการทำงานของระบบประสาท ส่งผลให้กล้ามเนื้อที่ฉีดยาเกิดการคลายตัวค่ะ

วัตถุประสงค์ของการฉีดโบท็อก (Botox) ที่คลินิกความงามสามารถให้บริการได้

  • ลดเลือนริ้วรอยบนใบหน้า เช่น ริ้วรอยหน้าผาก ริ้วรอยหางตา ริ้วรอยระหว่างคิ้ว ริ้วรอยใต้ตา
  • ยกกระชับใบหน้า
  • ลดขนาดกราม
  • ปรับรูปหน้า
  • ลดเหงื่อที่รักแร้
  • ลดเหงื่อที่ฝ่ามือ ฝ่าเท้า
  • ลดขนาดน่อง
  • Office Syndrome 
  • ลดการนอนกัดฟันให้น้อยลง

แม้จะเป็นการรักษาที่มีความปลอดภัยสูง แต่การฉีดโบท็อก (Botox) ก็มีข้อจำกัดที่ควรพิจารณาก่อนตัดสินใจ ดังนี้ค่ะ

  • ผลลัพธ์ที่ได้อาจแตกต่างกันไปในแต่ละบุคคล ขึ้นอยู่กับปัจจัยต่างๆ เช่น สภาพผิว เทคนิคการฉีด และปริมาณโบท็อกที่ใช้
  • อาจเกิดผลข้างเคียงชั่วคราว เช่น รอยเขียวช้ำ บวม ปวดศีรษะ
  • ในบางกรณีอาจเกิดผลข้างเคียงที่รุนแรง เช่น ตาตก มุมปากตก ในกรณีที่ฉีดผิดมัดกล้ามเนื้อ แต่เป็นอาการเพียงชั่วคราว
  • ไม่ควรฉีดโบท็อกในผู้ที่มีปัญหาสุขภาพบางชนิด เช่น โรคกล้ามเนื้ออ่อนแรง โรคภูมิแพ้รุนแรง

หมอขอสรุปว่าการเลือกวิธียกกระชับใบหน้าที่เหมาะสมนั้น ควรพิจารณาจากปัจจัยหลายประการ เช่น ความหย่อนคล้อยของผิวหน้า บริเวณที่ต้องการยกกระชับ งบประมาณ และความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้น ก่อนฉีดโบท็อก (Botox) ควรปรึกษาแพทย์ผู้เชี่ยวชาญอย่างละเอียด เพื่อให้แพทย์ประเมินปัญหาและแนะนำบริเวณที่เหมาะสมในการฉีด รวมถึงปริมาณยาที่เหมาะสม เพื่อความปลอดภัยและได้ผลลัพธ์ที่ดีที่สุด หากคุณกำลังกังวลเกี่ยวกับปัญหาริ้วรอยเหี่ยวย่นแต่ไม่รู้จะเริ่มจัดการอย่างไร ลินนาคลินิก (LINNA CLINIC) พร้อมเป็นที่ปรึกษาและช่วยคุณเปลี่ยนความกังวลให้เป็นความมั่นใจ ด้วยบริการเสริมความงามที่ครบวงจรและมีคุณภาพสูง เราให้บริการเสริมความงามที่หลากหลาย ครอบคลุมทุกปัญหาผิวพรรณและรูปร่าง โดยไม่มีค่าใช้จ่ายในการปรึกษาค่ะ

Lorem ipsum dolor sit amet, consectetur adipiscing elit. Ut elit tellus, luctus nec ullamcorper mattis, pulvinar dapibus leo.

Related Articles

เทรนด์การฉีดโบท็อก แบบไหนที่นิยมในหมู่ Celeb

ดารา Hollywood เริ่มฉีด เบบี้โบท็อก (Baby Botox) จนเป็นเทรนด์ฮอตฮิตอยู่ตอนนี้ ดาราสาวหลายคนกล่าวว่า รู้สึกว่าการฉีดเทคนิคเบบี้โบท็อก (Baby Botox) เป็นวิธีที่ทำให้มีความอ่อนเยาว์หน้าดูเด็กที่สุดทำให้ดูสวยอย่างเป็นธรรมชาติ Table of Contents เบบี้โบท็อก (Baby Botox) คืออะไร เบบี้โบท็อก (Baby Botox) คือ เทคนิคการฉีดโบท็อก (Botox) แบบใหม่ล่าสุดที่ฮิตมากในหมู่เซเลปคนดังฮอลลีวูดถือเป็นเทคนิคการฉีดโบท็อก (Botox) เพื่อเน้นลดริ้วรอย เช่น รอยย่นบนบริเวณหน้าผาก รอยขมวดคิ้ว และรอยตีนกา แต่ใบหน้ายังเคลื่อนไหวได้อย่างเป็นธรรมชาติ การฉีดโบท็อก (Botox) ในบริเวณรอยลึก สำหรับการฉีดโบท็อก (Botox) ลดริ้วรอยจะเห็นผลชัดเจนในการแก้ปัญหาริ้วรอยตื้นๆ หรือริ้วรอยที่เกิดจากการแสดงสีหน้า เช่น การขมวดคิ้ว การเลิกคิ้ว ริ้วรอยตีนกา การยิ้ม ริ้วรอยร่องแก้ม เป็นต้น แต่ถ้าหากเป็นปัญหาริ้วรอยร่องลึกที่เกิดจากปัญหากระดูกทรุดตัว อาจจะต้องแก้ไขโดยการฉีดฟิลเลอร์หนุนในชั้นผิว เพราะสารเติมเต็มในฟิลเลอร์สามารถแก้ปัญหาริ้วรอยร่องลึกได้มากกว่าการฉีดโบท็อก (Botox) ลดริ้วรอยค่ะ 3 เทคนิคฉีดโบท็อก (Botox)

อยากฉีดโบท็อก (Botox) แต่กลัวเข็ม กลัวเจ็บ ทำอย่างไรดี

ก่อนทำหัตถการทุกครั้ง หมอจะทำการแปะยาชาหรือใช้น้ำแข็งช่วยประคบเย็นก่อนทำการฉีดทุกครั้ง รวมถึงเข็มที่ลินนาคลินิกเลือกใช้จะมีขนาดที่เล็กเป็นพิเศษ จึงทำให้ไม่รู้สึกเจ็บเท่ากับเข็มที่มีขนาดทั่วไปค่ะ หากใครที่มีความกลัวเข็มมากเป็นพิเศษก็สามารถขอทำการแปะยาชาก่อนได้เช่นกันโดยไม่มีค่าใช้จ่ายเพิ่มเติม  และเราเองมีการใช้ตัว Face Vibration เพื่อช่วยในการเบนความสนใจได้ด้วยเช่นกัน และยังมีตัวช่วยอื่นๆที่หมอสรุปไว้ให้ด้านล่างนี้ด้วยเช่นกันค่ะ นอกจากนั้นทางหากท่านใดมีความกังวลหรือไม่สบายใจตรงจุดไหนสามารถเข้ามาพูดคุยสอบถามรายละเอียดขั้นตอนการรักษากับหมอได้ที่ลินนาคลินิก (LINNA Clinic) ก่อนได้เลยนะคะ Table of Contents คนกลัวเข็มจัดการกับการกลัวอย่างไรดี การแก้ไขอาการกลัวเหล่านี้สามารถทำได้ง่าย ๆ โดยเริ่มที่ตัวเราเองได้เลยค่ะ มีวิธีการดังนี้ ปรับทัศนคติของตัวเองใหม่ การจัดลำดับความคิดของตัวเองให้ได้เป็นสิ่งที่ต้องทำเป็นอย่างแรกเลยค่ะ ก่อนอื่นให้ปรับทัศนคติที่มีต่อสิ่งที่ตัวเองกลัว ยกตัวอย่าง เช่น การกลัวเข็ม โดยให้คิดว่าการเผชิญหน้าอย่างค่อยเป็นค่อยไปสามารถทำได้โดยค่อย ๆ เอาตัวเองไปอยู่กับสิ่งๆนั้นให้มากขึ้นไม่ต้องทำในทันทีทันใดนะคะ ให้ค่อย ๆ ทำ เช่น ไปอยู่กับเพื่อนที่ทำมาแล้วสวยเราก็จะเริ่มซึมซับและปรับทัศนคติให้กลัวน้อยลงและมีความกล้ามากขึ้นที่จะทำค่ะ ตั้งสมาธิและผ่อนคลาย คนที่ไม่กล้า ผ่า ฉีดยา การตั้งสมาธิช่วยทำให้เราใจเย็นลงได้ แต่มันทำได้มากกว่านั้นค่ะ โดยการตั้งสมาธิกำหนดลมหายใจ เข้า-ออกจะช่วยให้จิตใจของเรานิ่งมากขึ้นค่ะ โดยคนเป็นโรคนี้ถ้าหากฝึกไปเรื่อย ๆ ยิ่งฝึกมากเท่าไหร่ก็จะสามารถ ควบคุมสติและควบคุมอารมณ์ของตัวเองได้มากขึ้นค่ะ การเบี่ยงเบนความสนใจ หากกลัวว่าตัวเองจะทำไม่ได้ให้พยายามคิดถึงสิ่งอื่นแทนค่ะโดยก่อนทำอาจจะแจ้งหมอของเราว่าให้ช่วยพูดเพื่อเบี่ยงเบนความสนใจ ในขณะที่ฉีดยาชา สมองจะได้คิดไปเรื่องอื่นไม่มาโฟกัสเรื่องนี้หรือขณะที่ทำให้ตัวเองหันหน้าไปมองทางอื่นเพื่อจะได้ไม่มองเห็นซึ่งเป็นวิธีที่ได้ผลมากเลยค่ะ ใช้ตัวยา Penthrox ช่วย

มีโรคประจำตัวอยู่ ฉีดโบท็อก (Botox) ได้ไหม

ก่อนอื่นหมอแนะนำผู้ที่จะเข้ามาทำการฉีดโบท็อก (Botox)  มาเช็คความพร้อมของสุขภาพกันเสียก่อน โดยจะต้องไม่อยู่ระหว่างตั้งครรภ์ และให้นมบุตรส่วนผู้ที่มีโรคประจำตัว เช่น คนที่มีโรคเกี่ยวกับทางเดินหายใจ กล้ามเนื้ออ่อนแรง คนที่มีปัญหากล้ามเนื้อในการกลืน ควรหลีกเลี่ยง เพื่อความปลอดภัย และก่อนฉีดโบท็อก ไม่ควรปกปิดโรคประจำตัวกับแพทย์ผู้ให้การรักษาค่ะ Table of Contents ข้อควรพิจารณาก่อนการฉีดโบท็อก (Botox) สำหรับผู้ที่มีโรคประจำตัว เพื่อความปลอดภัย  ควรปรึกษาแพทย์ผู้ชำนาญการก่อนตัดสินใจฉีดโบท็อก (Botox)  แพทย์จะทำการประเมินความเสี่ยงและความเหมาะสมของคุณโดยพิจารณาจากปัจจัยต่างๆ เช่น ประเภทของโรคประจำตัว: บางโรคอาจส่งผลต่อการแข็งตัวของเลือด หรือระบบประสาท ซึ่งอาจเพิ่มความเสี่ยงจากการฉีดโบท็อก (Botox) ได้ ยาที่รับประทานอยู่: ซึ่งยาบางชนิดอาจมีปฏิกิริยาต่อกันกับโบท็อก (Botox) ประวัติการแพ้ยา: หากคุณเคยแพ้ยาใดๆ หรือมีประวัติการแพ้ทุกชนิดควรแจ้งแพทย์ให้ทราบทุกครั้งก่อนทำการฉีดโบท็อก (Botox) หมอแนะนำห้ามฉีดโบท็อก (Botox) เองโดยเด็ดขาดเนื่องจากโบท็อก (Botox) เป็นยาที่มีประสิทธิภาพสูงหากใช้ไม่ถูกต้อง การฉีดผิดจุด หรือฉีดในปริมาณที่มากจนเกินไปอาจส่งผลเสียร้ายแรงได้ เช่น ใบหน้าเบี้ยว ตาตก ปากตกเป็นต้น ดังนั้น ควรปรึกษาแพทย์ผู้ชำนาญการเสมอเพื่อความปลอดภัยค่ะ โรคประจำตัวใดห้ามฉีดโบท็อก (Botox) ผู้ป่วยโรคระบบกล้ามเนื้อ เช่น โรคกล้ามเนื้ออ่อนแรงเอแอลเอส

Scroll to Top